เป้าหมายหลัก

ปีการศึกษา 1/2558 หน่วยการเรียนรู้: "ทุ่งสังหาร"
เป้าหมาย (understanding Goal):
เข้าใจและมองเห็นความสัมพันธ์ของการกระทำที่ส่งผลต่อเหตุการณ์ที่เกิดจากการทำสงคราม การฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ที่เกิดขึ้นตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน มีทักษะการคิดและการจัดการข้อมูลต่างๆ รวมทั้งเห็นคุณค่าของตนเองและผู้อื่น เคารพในความเป็นมนุษย์โดยเท่าเทียมกัน และอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างสันติและภราดรภาพ

week10

เป้าหมายความเข้าใจรายสัปดาห์ : นักเรียนเข้าใจและมองเห็นความสัมพันธ์ของการกระทำที่ส่งผลต่อเหตุการณ์ฆ่าล้างเผ่าพันธุ์/สังหารหมู่ที่เกิดขึ้นตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน

Week
Input
Process
Output
Outcome
10
13-17 ก.ค. 2558
โจทย์
- มองอนาคต
- เชื่อมโยงเรื่องที่ศึกษากับตนเอง
- ถ่ายทอดความเข้าใจเรื่องที่ศึกษาและเรียนรู้มาตลอด 1 Quarter
Key  Questions
- จะเกิดอะไรขึ้นกับตัวเองและโลก ถ้าโลกนี้มีประชากรถึง 9,000 ล้านคน
- นักเรียนจะนำสิ่งที่ได้เรียนรู้ใน Quarter นี้ มาเชื่อมโยงกับตนเองและถ่ายทอดให้ผู้อื่นเข้าใจได้อย่างไร
เครื่องมือคิด
Brainstorm
ระดมความคิดเพื่อออกแบบรูปแบบในการนำเสนอให้ผู้อื่นเข้าใจได้
Round Robin
พูดคุยและแลกเปลี่ยนความคิดร่วมกันจากกิจกรรมที่ทำ
ผู้ร่วมสร้างการเรียนรู้
ครู/นักเรียน
สื่อและแหล่งเรียนรู้
-บรรยากาศในห้องเรียน
- ห้องเรียน
- ข้อมูลจาก Website
- เรื่องเล่าเกี่ยวกับปี ค.ศ. 2040
จันทร์ (2 คาบ)
ชง: ครูใช้คำถามกระตุ้นคิด “จากที่ได้เรียนมาตลอดทั้ง Quarter นักเรียนมีความรู้สึก เชื่อมโยงกับตนเองอย่างไร?
ใช้ : นักเรียนแต่ละคนสร้างชิ้นงานที่แสดงออกถึงความรู้สึกร่วมในรูปแบบ
การเขียนบทความ
ชงครูใช้คำถามกระตุ้นการคิด นักเรียนจะนำสิ่งที่ได้เรียนรู้ใน Quarter นี้ มาถ่ายทอดให้ผู้อื่นเข้าใจได้อย่างไร
เชื่อม: นักเรียนพูดคุยแลกเปลี่ยนร่วมกัน ออกแบบรูปแบบในการนำเสนอ ในรูปแบบ Brainstorm
ชง: ครูให้โจทย์นักเรียนทั้งห้องร่วมกันออกแบบการนำเสนอเรื่องที่ศึกษาและเรียนรู้ตลอด 1 Quarter
อังคาร (2 คาบ)
ชง: ครูใช้คำถามกระตุ้นคิด “นักเรียนคิดว่า ประเทศไทย และโลกมีประชากรเท่าไร?
เชื่อม: นักเรียนพูดคุยแลกเปลี่ยนร่วมกัน ในรูปแบบ Round Robin
ชง: ครูให้นักเรียนดูข้อมูลโลกในปัจจุบันแบบ Real time จากเว็บไซต์ http://www.worldometers.info/ ได้แก่ ข้อมูลจำนวนประชากร จำนวนคนเกิด คนตาย ปริมาณการใช้น้ำ น้ำมัน การตัดใช้ทำลายป่า เป็นต้น
- ครูใช้คำถามกระตุ้นคิด “นักเรียนรู้สึกอย่างไรกับข้อมูล?
เชื่อม: ครูและนักเรียนพูดคุยแลกเปลี่ยนร่วมกันเกี่ยวกับข้อมูลที่ได้รับ ในรูปแบบ Round Robin
ชง: ครูเล่าเรื่องในปี ค.ศ. 2040 โลกจะมีประชากรถึง 9,000 ล้านคน
เชื่อม: ครูใช้คำถามกระตุ้นคิด “จะเกิดอะไรขึ้น เมื่อวันนั้นมาถึง และจะส่งผลกระทบกับเราอย่างไรบ้าง”
เชื่อม: นักเรียนวิเคราะห์และแลกเปลี่ยนความคิดเห็นร่วมกัน เกี่ยวกับปี ค.ศ. 2040 ในรูปแบบ Round Robin
ใช้: นักเรียนสรุปความคิดเห็นของตัวเอง ในรูปแบบ Infographic
พฤหัสบดี (2 คาบ)
เชื่อม: นักเรียนร่วมสรุปข้อมูลอีกครั้งเพื่อทบทวนความเข้าใจเกี่ยวกับการเรียนรู้
- นักเรียนร่วมออกแบบรูปแบบการนำเสนอส่งที่ได้เรียนรู้
- นักเรียนแต่ละกลุ่มแลกเปลี่ยนนำเสนอความคืบหน้าและศึกษาเพิ่มเติม
ศุกร์ (2 คาบ)
เชื่อม :
- ครูและนักเรียนร่วมกันแสดงความคิดเห็น และช่วยกันปรับปรุงเกี่ยวกับรูปแบบการนำเสนอสิ่งที่ได้เรียนรู้
- นักเรียนสรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์
ภาระงาน
- วิเคราะห์และแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับข้อมูลที่ได้ดู เรื่องเล่าที่ได้ฟัง
- เตรียมความพร้อมถ่ายความทอดความเข้าใจ
- บันทึกสิ่งที่ได้เรียนรู้ลงสมุดชิ้นงาน
- Inforgraphic เกี่ยวกับสิ่งที่จะเกิดขึ้นในปี ค.ศ. 2040
- บทความเชื่อมโยงเรื่องที่ศึกษากับตนเอง
สรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์
-สมุดบันทึกสิ่งที่ได้เรียนรู้


ความรู้
- เข้าใจและมองเห็นความสัมพันธ์ของการกระทำที่ส่งผลต่อเหตุการณ์ที่เกิดจากเหตุการณ์ฆ่าล้างเผ่าพันธุ์/สังหารหมู่ที่เกิดขึ้นตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน
ทักษะ:
ทักษะชีวิต
สามารถทำงานร่วมกับผู้อื่นยอมรับฟังความคิดเห็นที่หลากหลายและแตกต่างจากตนเอง
ทักษะการเรียนรู้
มีเป้าหมายในสิ่งที่เรียนรู้ มีความสนใจกระตือรือร้นในการร่วมกิจกรรม
สามารถเรียนรู้และเชื่อมโยงสิ่งที่เรียนรู้กับตนเองได้
สามารถคิดวิเคราะห์ เลือกใช้เครื่องมือในการคิดวิเคราะห์ข้อมูลที่ได้ศึกษา
ทักษะการวางแผน
วางแผนการทำงานเป็นขั้นเป็นตอนแบ่งหน้าที่ในการทำงานค้นหาข้อมูล
ทักษะการสื่อสาร
- สามารถถ่ายทอดสิ่งที่ตนเองได้เรียนรู้ให้กับผู้อื่นได้
- สามารถสร้างชิ้นงานต่างๆผ่านเครื่องมือแสดงความรู้สึกร่วมเพื่อนำเสนอให้ผู้อื่นรับทราบได้

คุณลักษณะ
การเคารพยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น
กล้าแสดงความคิดเห็น
สร้างสรรค์และสรุปสิ่งที่ตนเองได้เรียนรู้จากกระบวนการเรียนรู้
-  มีวินัยและความรับผิดชอบต่อสิ่งที่ได้รับมอบหมาย
มีความมุ่งมั่นในการทำงาน
- เห็นคุณค่าของตนเองและผู้อื่น เคารพในความเป็นมนุษย์โดยเท่าเทียมกัน
ภาพกิจกรรมการเรียนรู้

 




ชิ้นงาน/สรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์



เครื่องมือแสดงความรู้สึก

1 ความคิดเห็น:

  1. บันทึกหลังการสอน

    สัปดาห์ตกลงกันระหว่างครูกับนักเรียนว่า จะมีการนำเสนออีกครั้ง โดยรวมเอาทุกเรื่องที่ได้ศึกษาเกี่ยวกับความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นมา ทั้งประวัติศาสตร์ สังคม การเมืองการปกครอง วัฒนธรรม ระบบเศรษฐกิจ และการศึกษาในรูปแบบใดก็ได้

    กิจกรรมนำเสนอสรุป:
    ก่อนจะเริ่มนำเสนอ ครูยกเรื่องอุยร์กูมาพูดคุยกับนักเรียนอีกครั้ง หลังจากที่ให้ไปช่วยกันค้นหาคำตอบเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว จากนั้น นักเรียนแต่ละคู่นำเสนอ บางกลุ่มนำเสนอเป็น Power Point บางกลุ่มนำเสนอชาร์ตความรู้ โดยภาพรวมแล้วไม่ค่อยน่ามาพอใจทั้งเนื้อหาและวิธีนำเสนอ ครูแสดงความรู้สึกถึงงานที่นักเรียนนำเสนอ อาจจะเป็นเพราะอยู่กับเรื่องเดิมๆ มานานจนเกิดความรู้สึกเบื่อ ไม่ได้ศึกษาอย่างลึกซึ้ง มีงานวิชาอื่นเยอะ หรือส่วนหนึ่งคือมีแหล่งข้อมูลน้อย ทำให้นักเรียนนำเสนอแค่ข้อมูล ไม่ได้วิเคราะห์ตามโจทย์ที่ครูตั้งไว้

    กิจกรรรมคนที่เราเกลียด:
    ครูอยากให้นักเรียนทำกิจกรรมสนุกๆ เพื่อเป็นการผ่อนคลาย หลังจากเตรียมนำเสนอมาหลายวัน ครูแจกกระดาษ ¼ ของ A4 ให้นักเรียนทุกคน ให้โจทย์ว่า 1) ให้วาดภาพรูปตัวเอง และ 2) ให้วาดภาพคนที่เราเกลียด เราไม่ชอบในเวลาที่กำหนด เมื่อทุกคนเสร็จ ครูรวบรวมกระดาษของทุกคน และสุ่มมาทีละใบ ยกขึ้นมาถามนักเรียนว่า ภาพนี้เป็นภาพที่เพื่อนวาดรูปตัวเองหรือเป็นภาพที่เพื่อนวาดถึงคนที่เขา/ เธอเกลียด ไม่ชอบ นักเรียนสนุกกับการทาย และส่วนมากตอบถูก ครูหยิบภาพที่เพื่อนวาดถึงคนที่เกลียด ไม่ชอบมา 5-6 ภาพ ถามนักเรียนว่า ภาพเหล่านี้มีอะไรที่คล้ายกัน นักเรียนหลายคนตอบ มันดูเกินจริง ใส่อารมณ์ เป็นสัตว์ประหลาด มีเขา ครูเชื่อมโยงว่า เรียนจำเหตุการณ์ที่รวันดา ที่ออสเตรเลีย ที่มองฝั่งตรงข้ามมองเหยื่อเป็นแมลงสาบ เป็นแมลงศัตรูพืช เรื่องแบบนี้เกิดขึ้นได้ และทำให้เรามองเห็นคนไม่เท่ากัน

    กิจกรรมดูสารคดีเรื่อง หนังสือเจ้าชายน้อย:
    จากนั้นครูหยิบหนังสือมาให้นักเรียนดูเล่มหนึ่ง คือหนังสือเจ้าชายน้อย พร้อมเล่าประวัติคร่าวๆ ของคนแต่งหนังสือเล่มนี้ เรื่องหนึ่งเลยที่ไม่ได้พูดถึงตลอดสัปดาห์คือเรื่องการศึกษารวมถึงเรื่องผลของเหตุการณ์ในอดีตที่ส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงด้านการศึกษาในปัจจุบัน ครูเปิดคลิปรายการพื้นที่ชีวิต ตอนเจ้าชายน้อย ซึ่งพูดเชื่อมโยงถึงเรื่องการศึกษา ยุวชนทหารฮิตเลอร์ ที่ได้รับการปลูกฝังความคิดแห่งความเลือดเย็น และวิชาทางทหารมาตั้งแต่เล็ก เพื่อให้นักเรียนเข้าใจมากขึ้นเกี่ยวกับการศึกษาที่มีผลต่อการกระทำของคน รวมทั้งผลกระทบต่อสังคมด้วย

    กิจกรรมไทยมองพม่า:
    ก่อนเข้าสู่ประชาคมอาเซียนในปีหน้า ครูอยากให้นักเรียนมองเห็นมุมมองของคนไทยส่วนใหญ่ที่มีต่อประเทศเพื่อนบ้าน โดยยกตัวอย่างมุมมองต่อประเทศพม่าเป็นกรณีศึกษา ครูให้นักเรียนนั่งเป็นวงกลม ถามประชากรของประเทศไทย ของโลกมีจำนวนเท่าไร นักเรียนส่วนใหญ่ไม่รู้ แต่ก็พยายามช่วยกันทาย จากนั้นครูให้คลิปสัตว์ที่ฆ่าชีวิตมนุษย์มากที่สุดต่อปี ไม่น่าเชื่อว่า อันดับ 3 คือการที่มนุษย์ฆ่ากันเอง นักเรียนให้ความสนใจดี จากนั้น ครูแจกกระดาษให้นักเรียนทุกคนคนละ 1 ใบเพื่อแบ่งกลุ่มนักเรียน ด้านหนึ่งเป็นสัตว์ (หมู, หมา, ไก่, ปลา) อีกด้านเป็นคนชาติต่างๆ (คนไทย, ญี่ปุ่น, บราซิล, อเมริกัน) ครูให้นักเรียนรวมกลุ่มตามชนิดของสัตว์ และตามคนชาติต่างๆ โดยมีข้อแม้ว่า ห้ามพูดอธิบายหรือบอกเพื่อนคนอื่นๆ ว่าได้คำว่าอะไรโดยตรง ต้องแสดงด้วยท่าทาง หรือส่งเสียง นักเรียนสนุกกันมาก จากนั้น ครูถามนักเรียนว่า ถึงสิ่งที่ได้เรียนรู้ และเชื่อมโยงถึงการทำความเข้าใจต่อชนิดหรือชนชาติหนึ่งๆ ครูพาดูคลิปก้านกล้วย (ฉากที่ช้างทั้งสองฝ่ายสู้รบกัน) ดูรูปเกี่ยวการโปรโมตการแข่งขันฟุตบอลซีเกมส์ ไทย-พม่า ถามว่าเห็นอะไร และแบ่งกลุ่มทำplacemat ให้นักเรียนช่วยกันคิดว่า ถ้านึกถึงคนไทย และคนพม่า แล้วนึกถึงอะไรทั้งในกลุ่มย่อย และแลกเปลี่ยนให้เพื่อนทั้งห้อง ทำให้นักเรียนได้เห็นมุมมองของเพื่อนแต่ละกลุ่ม แต่ละคน สิ่งที่พบคือ ไม่มีนักเรียนพูดถึงเรื่องการเสียกรุงศรีอยุธยา การเผาบ้านเผาเมือง ซึ่งตอนแรกครูคิดว่า เป็นชุดความคิดที่คนไทยส่วนใหญ่มี ทำให้เกิดการเกลียดชัง ไม่ชอบประเทศพม่า มองเป็นศัตรู ครูสรุปด้วยการแจกบทความเกี่ยวกับพม่าในอีกมุมหนึ่ง เช่น เรื่องการเผากรุงศรีอยุธยาที่ส่วนหนึ่งคนไทยเองเป็นคนทำในทุกยุค หรือเรื่องที่ประเทศพม่าไม่ได้มองว่า “พม่ารบไทย” แต่มองเป็นเหตุการณ์ในอดีต พระเจ้าบุเรงนองรบกับกรุงศรีอยุธยา เป็นต้น

    ตอบลบ