เป้าหมายหลัก

ปีการศึกษา 1/2558 หน่วยการเรียนรู้: "ทุ่งสังหาร"
เป้าหมาย (understanding Goal):
เข้าใจและมองเห็นความสัมพันธ์ของการกระทำที่ส่งผลต่อเหตุการณ์ที่เกิดจากการทำสงคราม การฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ที่เกิดขึ้นตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน มีทักษะการคิดและการจัดการข้อมูลต่างๆ รวมทั้งเห็นคุณค่าของตนเองและผู้อื่น เคารพในความเป็นมนุษย์โดยเท่าเทียมกัน และอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างสันติและภราดรภาพ

week2

เป้าหมายความเข้าใจรายสัปดาห์ : นักเรียนเข้าใจกระบวนการเรียนรู้ร่วมกันเกี่ยวกับเรื่องที่อยากเรียนรู้ พร้อมทั้งให้เหตุผลประกอบได้
Week
Input
Process
Output
Outcome
2
18-22 พ.ค.
2558
โจทย์
- สร้างฉันทะ/ แรงบันดาลใจ
-วางแผนออกแบบการเรียนรู้
Key  Questions
- นักเรียนได้เรียนรู้อะไรจากเรื่องที่ได้ดู
- นักเรียนต้องการเรียนรู้เรื่องอะไร
- นักเรียนคิดว่าชื่อหน่วย ที่น่าสนใจควรเป็นอย่างไร
เครื่องมือคิด
Show and Share
- แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับการหนังที่ได้ดู
Round Table
- แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับภาพสะเทือนใจ
Round Robin
การพูดคุยแลกเปลี่ยนร่วมกันจากเรื่องที่ฟัง ที่อ่าน
ชักเย่อความคิด
แลกเปลี่ยนมุมมองจากหนัง
Card & Chart
เรื่องที่ต้องการเรียนรู้
Think  Pair Share
สิ่งที่รู้แล้วและสิ่งที่อยากรู้
Blackboard  Share
การตั้งชื่อหน่วยการเรียนรู้
Brainstorms
ระดมความคิดเห็นเพื่อออกแบบปฏิทินการเรียนรู้
Mind  Mapping
สรุปองค์ความรู้ก่อนเรียน
ผู้ร่วมสร้างการเรียนรู้
นักเรียน/ครู
สื่อและแหล่งเรียนรู้
บรรยากาศในห้องเรียน
ห้องเรียน
หนังเรื่อง Life is Beautiful
- อุปกรณ์ทำกิจกรรมชักเย่อความคิด
- ภาพสะเทือนใจ (ภาพเด็กหญิงชาวเวียดนามในสงคราม)
- กระดาษชาร์ตแผ่นใหญ่
จันทร์ (2 คาบ)
ชง: ครูเปิดหนังเรื่อง Life is beautiful ให้นักเรียนดู
- ครูใช้คำถามกระตุ้นคิด นักเรียนได้เรียนรู้อะไร รู้สึกอย่างไร และเกี่ยวข้องกับตัวเองอย่างไร?”
เชื่อม: นักเรียนวิเคราะห์และแลกเปลี่ยนแสดงความคิดเห็นร่วมกันเกี่ยวกับหนังที่ได้ดูในรูปแบบ Place Mat
อังคาร (2 คาบ)
ชง: ครูใช้คำถามกระตุ้นคิด “นักเรียนจะทำอย่างไรเมื่อต้องอยู่ในสถานการณ์ที่สังคมวุ่นวาย ทำร้ายซึ่งกันและกัน?
เชื่อม: นักเรียนวิเคราะห์และแลกเปลี่ยนแสดงความคิดเห็นร่วมกันในรูปแบบชักเย่อความคิด(วิธีการคิดบวกหรือวิธีการคิดเพิกเฉย)
ชง: ครูให้นักเรียนดูภาพสะเทือนใจจำนวน 10 ภาพ (ตัวอย่าง: ภาพเด็กหญิงชาวเวียดนามในสงคราม)
- ครูใช้คำถามกระตุ้นคิด นักเรียนรู้สึกอย่างไร?”
เชื่อม: นักเรียนวิเคราะห์และแลกเปลี่ยนแสดงความคิดเห็นร่วมกันเกี่ยวกับภาพที่ได้ดูในรูปแบบ Round Table
ชง: ครูใช้คำถามกระตุ้นคิด นักเรียนเคยได้ยินเรื่องราวที่มีความคล้ายคลึงกับเหตุการณ์ในภาพอีกหรือไม่ เหตุการณ์ใดบ้าง?”
เชื่อม : ครูและนักเรียนพูดคุยแลกเปลี่ยนร่วมกันเกี่ยวกับเหตุการณ์ในรูปแบบ Round Robin
พฤหัสบดี (2 คาบ)
ชง : ครูให้นักเรียนอ่านบทความเกี่ยวกับเหตุการณ์สงครามเวียดนาม ครบรอบ 40 ปี
เชื่อม : ครูและนักเรียนพูดคุยแลกเปลี่ยนร่วมกันเกี่ยวกับบทความที่อ่านในรูปแบบ Round Robin
ชง : ครูใช้คำถามกระตุ้นคิด นักเรียนคิดว่าตนเองต้องการเรียนรู้เรื่องอะไร?”
เชื่อม:
- ครูแจกกระดาษแผ่นเล็กๆให้นักเรียนแต่ละคน ให้เขียนเรื่องที่อยากเรียนรู้ ในรูปแบบ Card & Chart
- ครูและนักเรียนจัดหมวดหมู่เรื่องที่ต้องการศึกษาร่วมกัน
ชง : ครูใช้คำถามกระตุ้นคิด นักเรียนคิดว่าชื่อหน่วยที่น่าสนใจควรเป็นอย่างไร?”
เชื่อม : นักเรียนแต่ละคนร่วมแสดงความคิดเห็น และร่วมกันตั้งชื่อหัวข้อหน่วย ในรูปแบบ Blackboard Share
ชง : ครูใช้คำถามกระตุ้นคิด นักเรียนมีสิ่งที่ใดบ้างที่อยากรู้และสิ่งใดบ้างที่รู้แล้ว?”
เชื่อม:นักเรียนเขียนสิ่งที่รู้และสิ่งที่อยากเรียนรู้และรวมรวบความคิดร่วมกัน ในรูปแบบ Think Pair Share
ศุกร์ (2 คาบ)
ชง : ครูใช้คำถามกระตุ้นคิด นักเรียนจะออกแบบปฏิทินการเรียนรู้ตลอด 10 สัปดาห์ได้อย่างไร?”
เชื่อม: ครูและนักเรียนร่วมกันนำสิ่งที่อยากเรียนรู้มาออกแบบปฏิทินการเรียนรู้ในกระดาษชาร์ตแผ่นใหญ่
- นักเรียนแต่ละคนเขียนสรุปองค์ความรู้ก่อนเรียนรู้ในรูปแบบ Mind Mapping
- นักเรียนแต่ละคนสรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์
ภาระงาน
- วิเคราะห์และแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับหนังที่ได้ดู
- ชักเย่อความคิด
- วิเคราะห์และแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับภาพสะเทือนใจ
- ร่วมแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับเลือกหัวข้อหน่วยการเรียนรู้และออกแบบปฏิทินการเรียนรู้
- การบันทึกสิ่งที่ได้เรียนรู้ลงสมุด
ชิ้นงาน
- หัวข้อหน่วยการเรียนรู้
- สิ่งที่รู้แล้วและอยากรู้เกี่ยวกับหัวข้อหน่วย
- ปฏิทินการเรียนรู้
- Mind Mapping สรุปองค์ความรู้ก่อนการเรียนรู้
สรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์
-สมุดบันทึกสิ่งที่ได้เรียนรู้
ความรู้
 เข้าใจกระบวนการเรียนรู้ร่วมกันเกี่ยวกับเรื่องที่อยากเรียนรู้ พร้อมทั้งให้เหตุผลประกอบได้
ทักษะ:
ทักษะชีวิต
สามารถทำงานร่วมกับผู้อื่นยอมรับฟังความคิดเห็นที่หลากหลายและแตกต่างจากตนเอง
ทักษะการเรียนรู้
มีเป้าหมายในสิ่งที่เรียนรู้ มีความสนใจกระตือรือร้นในการร่วมกิจกรรม
การวางแผนการทำงาน
วางแผนการทำงานเป็นขั้นเป็นตอนแบ่งหน้าที่ในการทำงานค้นหาข้อมูล
คุณลักษณะ
เคารพ สิทธิ หน้าที่ เห็นคุณค่าและเชื่อมโยงความคิดเห็นของตนเองและผู้อื่นอย่างไม่มีอคติ
การเคารพยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น
กล้าแสดงความคิดเห็น
- เห็นคุณค่าของตนเองและผู้อื่น เคารพในความเป็นมนุษย์โดยเท่าเทียมกัน
ภาพกิจกรรมการเรียนรู้
ชิ้นงาน/สรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์
เครื่องมือแสดงความรู้สึก







1 ความคิดเห็น:

  1. บันทึกหลังการสอน

    สัปดาห์นี้เป็นสัปดาห์แรก ครูชวนนักเรียนพูดคุยสิ่งที่นักเรียนทำตอนปิดเทอม และโยงมาถึงว่าตอนนี้มีข่าวอะไรบ้าง พี่ดิว (พี่ดิวเคยค้นคว้าเกี่ยวกับประเทศเนปาล เมื่ออยู่ชั้นม.1) พูดถึงเหตุการณ์แผ่นดินไหวที่เนปาล และมีบางคนพูดถึงข่าวโรฮิงญา ครูจึงถามต่อว่า โรงฮิงญา คืออะไร นักเรียนช่วยกันเสนอออกมาเป็นคำๆ เช่น การอพยพ การค้ามนุษย์ เดินทางทางเรือ กลุ่มคนกลุ่มหนึ่ง ครูจึงให้ไปหาข้อมูลเป็นการบ้าน

    กิจกรรมดูหนังเรื่อง Life is Beautiful:
    หลังจากที่ถามไถ่กันแล้ว ครูสร้างแรงโดยการให้นักเรียนดูหนังเรื่อง Life is beautiful โดยก่อนดู ครูถามนักเรียนว่า จากชื่อ จากปกหนัง หนังเรื่องนี้น่าจะเกี่ยวกับอะไร นักเรียนแต่ละคนก็เดาต่างๆ กันไป แต่ส่วนหนึ่งพอจะจำได้ว่าเคยดูแล้วตอนอยู่ประถมฯ บรรยากาศในการดูเลยอาจจะลดความน่าสนใจลงไปบ้าง ต้องใช้เวลา 2 วันในการดู โดยก่อนจะจบวันแรกที่ดู ครูตั้งคำถามกับนักเรียนว่า นักเรียนเห็นอะไรบ้าง ได้เรียนรู้อะไรจากหนัง วันที่สอง ครูถามนักเรียนเรื่องข้อมูลโรฮิงญาที่ให้นักเรียนไปศึกษาเพิ่มเติม และครูแลกเปลี่ยนข้อมูลที่ครูค้นคว้ามา เมื่อดูจบ ครูให้นักเรียนช่วยกันสะท้อนความรู้สึกจากที่ได้ดู ได้คำออกเช่น ไม่ยุติธรรม ชาติพันธุ์ ยิว ฮิตเลอร์ นาซี โหดร้าย น่ากลัว จากนั้นครูให้นักเรียนแสดงความคิดเห็นโดยใช้เครื่องมือคิด ชักเย่อความคิดมาใช้ว่า ถ้านักเรียนเป็นคนหนึ่งที่ตกอยู่ในสถานการณ์เหมือนตัวละคร นักเรียนจะเลือกที่จะเพิกเฉย ปล่อยวาง หรือมีความหวัง มองโลกในแง่ดี

    กิจกรรมภาพแทนความรู้สึก:
    จบจากดูหนัง ครูให้นักเรียนดูภาพ 10 ภาพที่เกี่ยวกับสงคราม พร้อมทั้งให้เขียนแสดงความรู้สึกของแต่ละภาพ เมื่อเขียนเสร็จ ครูสุ่มเลือกนักเรียนเพื่อให้แลกเปลี่ยนความรู้สึกจากภาพกับเพื่อนทีละภาพๆ หลังจากจบแต่ละภาพ ครูอธิบายว่า เหตุการณ์ในภาพมาจากที่ใด โดยภาพที่ 10 เป็นภาพเด็กหญิงที่หนีการทิ้งระเบิดในสงครามเวียดนาม ครูชงว่า พรุ่งนี้จะพาเด็กหญิงคนนี้มาให้ทำความรู้จัก ระหว่างทำกิจกรรมนี้ บรรยากาศในการเรียนค่อนข้างดี เด็กๆ สนใจ อยากรู้ว่าในภาพมันเกิดอะไรขึ้น เกิดขึ้นที่ไหน นักเรียนส่วนใหญ่รู้สึกกลัว สงสาร

    กิจกรรมทำความรู้จักเด็กหญิงเวียดนามคนนั้น- คิม ฟุก:
    วันนี้ ครูเริ่มต้นด้วยการนำบทความเรื่องโรฮิงญามาเล่าให้นักเรียนฟังอีกครั้งในอีกมุมมองหนึ่ง จากนั้นครูเปิดสารคดีเกี่ยวกับช่างภาพที่อยู่ในสงครามเวียดนาม (เป็นสารคดีที่พูดถึงช่างภาพทั้งฝั่งเวียดนามเหนือและใต้) เชื่อมโยงกับภาพเด็กหญิงเมื่อวาน จากนั้นครูให้ดูคลิปฉลองครอบรอบ 40 ปี สิ้นสุดสงครามเวียดนามเพื่อทำความเข้าใจประวัติศาสตร์สงครามเวียดนามเบื้องต้น และสุดท้ายให้ดูคลิปเด็กผู้หญิงชาวเวียดนามคนนั้น จากนั้น ครูให้นักเรียนดูภาพปัจจุบันของเด็กผู้หญิง พร้อมเล่าเรื่องราวชีวิตของคิม ฟุกหลังจากเหตุการณ์นั้นให้ฟัง

    กิจกรรมวางแผนออกแบบการเรียนรู้:
    ครูถามนักเรียนว่า คำ 3 คำที่นักเรียนรู้สึกหลังจากทำกิจกรรมทั้งหมดมาคืออะไร และนำมาแลกเปลี่ยนกันถึงเหตุผลที่เลือกคำเหล่านี้
    - สงคราม ทำไมเราต้องทำสงคราม ทำไปทำไม อะไรคือต้นเหตุของสงคราม สงครามเย็น ช่วงเวลาของสงคราม เจตนา (ความต้องการของทหาร) มีสงครามอะไรเกิดขึ้นบ้าง ความโหดร้ายของอดีต
    - ประวัติศาสตร์ อยากรู้เรื่องราวสมัยก่อนๆ ว่าเกิดอะไรขึ้น มีความเป็นอยู่ การใช้ชีวิต มีการเปลี่ยนแปลงอย่างไรจนถึงตอนนี้ มันเกี่ยวกับกันระหว่างประวัติศาสตร์ เผ่าพันธุ์ สงคราม เหตุปัจจัย นาซี ค่ายเอาชวิตซ์ (Asuchwitz) ประวัติสงครามของแต่ละประเทศ สงครามโลก เกิดขึ้นได้ยังไง
    - เผ่าพันธุ์ ชนเผ่า เชื้อชาติ ทำไมเราอยู่ร่วมกับผู้อื่นไม่ได้ ใช้เกณฑ์ยังไงในการแยกเผ่าพันธุ์ การใช้สัญชาติ การโอนสัญชาติ แม้ว ทำไมต้องแบ่งแยก แต่ละเผ่าพันธุ์มีความแตกต่าง ใช้ชีวิต วัฒนธรรม ศาสนา ต่างกันทำไมต้องฆ่าล้างเผ่าพันธุ์
    - การเมืองการปกครอง ประชาธิปไตย คอมมิวนิสต์
    - เพื่อนมนุษย์ เราเป็นคนเหมือนกัน แต่ทำไมเราต้องแบ่งแยก อยากให้อยู่ร่วมกันอย่างสันติ มีอะไรต้องปรึกษากัน อย่าคิดฝ่ายเดียว

    จากนั้น ครูให้นักเรียนเลือกคำมา 2 คำจาก 3 คำ แล้วให้เขียนคำถามที่อยากเรียนรู้เกี่ยวกับคำๆ นั้น และนำไปติดไว้บนบอร์ดนักเรียนทุกคนให้ความร่วมมือด้วยดี

    ตอบลบ