เป้าหมายหลัก

ปีการศึกษา 1/2558 หน่วยการเรียนรู้: "ทุ่งสังหาร"
เป้าหมาย (understanding Goal):
เข้าใจและมองเห็นความสัมพันธ์ของการกระทำที่ส่งผลต่อเหตุการณ์ที่เกิดจากการทำสงคราม การฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ที่เกิดขึ้นตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน มีทักษะการคิดและการจัดการข้อมูลต่างๆ รวมทั้งเห็นคุณค่าของตนเองและผู้อื่น เคารพในความเป็นมนุษย์โดยเท่าเทียมกัน และอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างสันติและภราดรภาพ

week1

เป้าหมายความเข้าใจรายสัปดาห์ : นักเรียนเข้าใจกระบวนการเรียนรู้ร่วมกันเกี่ยวกับเรื่องที่อยากเรียนรู้ พร้อมทั้งให้เหตุผลประกอบได้
Week
Input
Process
Output
Outcome
1
14-15 พ.ค.
2558
โจทย์
- สร้างฉันทะ/ แรงบันดาลใจ
-วางแผนออกแบบการเรียนรู้
Key  Questions
- นักเรียนได้เรียนรู้อะไรจากเรื่องที่ได้ดู
- นักเรียนต้องการเรียนรู้เรื่องอะไร
- นักเรียนคิดว่าชื่อหน่วย ที่น่าสนใจควรเป็นอย่างไร
เครื่องมือคิด
Show and Share
- แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับการหนังที่ได้ดู
Round Table
- แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับภาพสะเทือนใจ
Round Robin
การพูดคุยแลกเปลี่ยนร่วมกันจากเรื่องที่ฟัง ที่อ่าน
ชักเย่อความคิด
แลกเปลี่ยนมุมมองจากหนัง
Card & Chart
เรื่องที่ต้องการเรียนรู้
Think  Pair Share
สิ่งที่รู้แล้วและสิ่งที่อยากรู้
Blackboard  Share
การตั้งชื่อหน่วยการเรียนรู้
Brainstorms
ระดมความคิดเห็นเพื่อออกแบบปฏิทินการเรียนรู้
Mind  Mapping
สรุปองค์ความรู้ก่อนเรียน
ผู้ร่วมสร้างการเรียนรู้
นักเรียน/ครู
สื่อและแหล่งเรียนรู้
บรรยากาศในห้องเรียน
ห้องเรียน
หนังเรื่อง Life is Beautiful
- อุปกรณ์ทำกิจกรรมชักเย่อความคิด
- ภาพสะเทือนใจ (ภาพเด็กหญิงชาวเวียดนามในสงคราม)
- กระดาษชาร์ตแผ่นใหญ่
จันทร์ (2 คาบ)
ชง: ครูเปิดหนังเรื่อง Life is beautiful ให้นักเรียนดู
- ครูใช้คำถามกระตุ้นคิด นักเรียนได้เรียนรู้อะไร รู้สึกอย่างไร และเกี่ยวข้องกับตัวเองอย่างไร?”
เชื่อม: นักเรียนวิเคราะห์และแลกเปลี่ยนแสดงความคิดเห็นร่วมกันเกี่ยวกับหนังที่ได้ดูในรูปแบบ Place Mat
อังคาร (2 คาบ)
ชง: ครูใช้คำถามกระตุ้นคิด “นักเรียนจะทำอย่างไรเมื่อต้องอยู่ในสถานการณ์ที่สังคมวุ่นวาย ทำร้ายซึ่งกันและกัน?
เชื่อม: นักเรียนวิเคราะห์และแลกเปลี่ยนแสดงความคิดเห็นร่วมกันในรูปแบบชักเย่อความคิด(วิธีการคิดบวกหรือวิธีการคิดเพิกเฉย)
ชง: ครูให้นักเรียนดูภาพสะเทือนใจจำนวน 10 ภาพ (ตัวอย่าง: ภาพเด็กหญิงชาวเวียดนามในสงคราม)
- ครูใช้คำถามกระตุ้นคิด นักเรียนรู้สึกอย่างไร?”
เชื่อม: นักเรียนวิเคราะห์และแลกเปลี่ยนแสดงความคิดเห็นร่วมกันเกี่ยวกับภาพที่ได้ดูในรูปแบบ Round Table
ชง: ครูใช้คำถามกระตุ้นคิด นักเรียนเคยได้ยินเรื่องราวที่มีความคล้ายคลึงกับเหตุการณ์ในภาพอีกหรือไม่ เหตุการณ์ใดบ้าง?”
เชื่อม : ครูและนักเรียนพูดคุยแลกเปลี่ยนร่วมกันเกี่ยวกับเหตุการณ์ในรูปแบบ Round Robin
พฤหัสบดี (2 คาบ)
ชง : ครูให้นักเรียนอ่านบทความเกี่ยวกับเหตุการณ์สงครามเวียดนาม ครบรอบ 40 ปี
เชื่อม : ครูและนักเรียนพูดคุยแลกเปลี่ยนร่วมกันเกี่ยวกับบทความที่อ่านในรูปแบบ Round Robin
ชง : ครูใช้คำถามกระตุ้นคิด นักเรียนคิดว่าตนเองต้องการเรียนรู้เรื่องอะไร?”
เชื่อม:
- ครูแจกกระดาษแผ่นเล็กๆให้นักเรียนแต่ละคน ให้เขียนเรื่องที่อยากเรียนรู้ ในรูปแบบ Card & Chart
- ครูและนักเรียนจัดหมวดหมู่เรื่องที่ต้องการศึกษาร่วมกัน
ชง : ครูใช้คำถามกระตุ้นคิด นักเรียนคิดว่าชื่อหน่วยที่น่าสนใจควรเป็นอย่างไร?”
เชื่อม : นักเรียนแต่ละคนร่วมแสดงความคิดเห็น และร่วมกันตั้งชื่อหัวข้อหน่วย ในรูปแบบ Blackboard Share
ชง : ครูใช้คำถามกระตุ้นคิด นักเรียนมีสิ่งที่ใดบ้างที่อยากรู้และสิ่งใดบ้างที่รู้แล้ว?”
เชื่อม:นักเรียนเขียนสิ่งที่รู้และสิ่งที่อยากเรียนรู้และรวมรวบความคิดร่วมกัน ในรูปแบบ Think Pair Share
ศุกร์ (2 คาบ)
ชง : ครูใช้คำถามกระตุ้นคิด นักเรียนจะออกแบบปฏิทินการเรียนรู้ตลอด 10 สัปดาห์ได้อย่างไร?”
เชื่อม: ครูและนักเรียนร่วมกันนำสิ่งที่อยากเรียนรู้มาออกแบบปฏิทินการเรียนรู้ในกระดาษชาร์ตแผ่นใหญ่
- นักเรียนแต่ละคนเขียนสรุปองค์ความรู้ก่อนเรียนรู้ในรูปแบบ Mind Mapping
- นักเรียนแต่ละคนสรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์
ภาระงาน
- วิเคราะห์และแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับหนังที่ได้ดู
- ชักเย่อความคิด
- วิเคราะห์และแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับภาพสะเทือนใจ
- ร่วมแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับเลือกหัวข้อหน่วยการเรียนรู้และออกแบบปฏิทินการเรียนรู้
- การบันทึกสิ่งที่ได้เรียนรู้ลงสมุด
ชิ้นงาน
- หัวข้อหน่วยการเรียนรู้
- สิ่งที่รู้แล้วและอยากรู้เกี่ยวกับหัวข้อหน่วย
- ปฏิทินการเรียนรู้
- Mind Mapping สรุปองค์ความรู้ก่อนการเรียนรู้
สรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์
-สมุดบันทึกสิ่งที่ได้เรียนรู้
ความรู้
 เข้าใจกระบวนการเรียนรู้ร่วมกันเกี่ยวกับเรื่องที่อยากเรียนรู้ พร้อมทั้งให้เหตุผลประกอบได้
ทักษะ:
ทักษะชีวิต
สามารถทำงานร่วมกับผู้อื่นยอมรับฟังความคิดเห็นที่หลากหลายและแตกต่างจากตนเอง
ทักษะการเรียนรู้
มีเป้าหมายในสิ่งที่เรียนรู้ มีความสนใจกระตือรือร้นในการร่วมกิจกรรม
การวางแผนการทำงาน
วางแผนการทำงานเป็นขั้นเป็นตอนแบ่งหน้าที่ในการทำงานค้นหาข้อมูล
คุณลักษณะ
เคารพ สิทธิ หน้าที่ เห็นคุณค่าและเชื่อมโยงความคิดเห็นของตนเองและผู้อื่นอย่างไม่มีอคติ
การเคารพยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น
กล้าแสดงความคิดเห็น
- เห็นคุณค่าของตนเองและผู้อื่น เคารพในความเป็นมนุษย์โดยเท่าเทียมกัน

ภาพกิจกรรมการเรียนรู้

ตัวอย่างสรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์นักเรียน

1 ความคิดเห็น:

  1. บันทึกหลังสอน

    สำหรับสัปดาห์นี้เป็นสัปดาห์แรกในการเปิดเรียน ทั้งครูและนักเรียนก็ตื่นเต้นเช่นเดียวกัน ซึ่งกิจกรรมในสัปดาห์นี้พี่ม. 2 ได้แลกเปลี่ยนประสบการณ์ช่วงปิดเรียน แต่ละคนได้เล่า ถ่ายทอดสิ่งที่ตนเองประทับใจให้เพื่อนและครูฟัง ร่วมกันสร้างข้อตกลงในการอยู่ร่วมกันในชั้นเรียน ทบทวนวิถีปฏิบัติ จากนั้นครูได้ให้นักเรียนสังเกตบริเวณรอบบ้านม. 2 ว่าเห็นอะไรบ้าง และเราอยากทำอะไรเพิ่มเติม

    ทุกคนได้ร่วมกันดูแลบ้านและพื้นที่ต่างๆ ร่วมกันวางแผนจัดการพื้นที่ข้างบ้านม.2 ให้เกิดประโยชน์คือทำแปลงเกษตรแบบผสมผสาน โดยใช้ชื่อว่า 1 งาน 1 ล้านแรงบันดาลใจ แต่ละคนแบ่งหน้า ทำแปลงผัก ศึกษาข้อมูลในการเลี้ยงปลา เลี้ยงกบ และ ทำโรงเห็ด


    ครูและนักเรียนร่วมกิจกรรมสัมพันธ์สานสัมพันธ์น้องพี่ จากนั้นร่วมกันถอดบทเรียน

    ตอบลบ