เป้าหมายหลัก

ปีการศึกษา 1/2558 หน่วยการเรียนรู้: "ทุ่งสังหาร"
เป้าหมาย (understanding Goal):
เข้าใจและมองเห็นความสัมพันธ์ของการกระทำที่ส่งผลต่อเหตุการณ์ที่เกิดจากการทำสงคราม การฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ที่เกิดขึ้นตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน มีทักษะการคิดและการจัดการข้อมูลต่างๆ รวมทั้งเห็นคุณค่าของตนเองและผู้อื่น เคารพในความเป็นมนุษย์โดยเท่าเทียมกัน และอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างสันติและภราดรภาพ

week3

เป้าหมายความเข้าใจรายสัปดาห์ : นักเรียนเข้าใจประวัติศาสตร์ (ประเทศที่มีการสังหารหมู่/ฆ่าล้างเผ่าพันธุ์) แต่ละประเทศในแต่ละทวีป
Week
Input
Process
Output
Outcome
3
25-29 พ.ค.
2558
โจทย์
ประวัติศาสตร์
Key Questions
- ทำไมจึงมีการสังหารหมู่/ฆ่าล้างเผ่าพันธุ์
- การสังหารหมู่ กับการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ต่างกันอย่างไร
เครื่องมือคิด
Show and Share
- แลกเปลี่ยนนำเสนองานเขียนจดหมายของตนเองเกี่ยวกับความรู้สึกร่วมให้เพื่อนฟัง
- นำเสนอเรื่องที่ศึกษา
Round Robin
การแลกเปลี่ยนแสดงความคิดเห็นร่วมกันเกี่ยวกับหนังที่ดูและเรื่องเล่าที่ฟัง
Place mat
การวิเคราะห์และแลกเปลี่ยนแสดงความคิดเห็นร่วมกันเกี่ยวกับคลิปเหตุการณ์สังหารหมู่/ฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ชาวอาร์มีเนีย
ผู้ร่วมสร้างการเรียนรู้
ครู/นักเรียน
สื่อและแหล่งเรียนรู้
บรรยากาศในห้องเรียน
ห้องเรียน
- หนังเรื่อง Hotel Rwanda
- บทความเกี่ยวกับเหตุการณ์สังหารหมู่ที่ Waterloo เบลเยียม
- หนัง และหนังสือเกี่ยวกับเหตุการณ์ที่นักเรียนแต่ละกลุ่มไปศึกษา
คลิปเหตุการณ์สังหารหมู่/ฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ชาว
อาร์มีเนีย
- กระดาษชาร์ต
- อินเตอร์เน็ต
จันทร์ (2 คาบ)
ชง: ครูเปิดหนังเรื่อง Hotel Rwandaให้นักเรียนดู
- ครูใช้คำถามกระตุ้นคิด นักเรียนได้เรียนรู้อะไร รู้สึกอย่างไร และเกี่ยวข้องกับตัวเองอย่างไร?”
เชื่อม: นักเรียนวิเคราะห์และแลกเปลี่ยนแสดงความคิดเห็นร่วมกันเกี่ยวกับหนังที่ได้ดู ในรูปแบบ Round Robin
ชง: ครูใช้คำถามกระตุ้นคิด “นักเรียนจะนำเสนอเครื่องมือแสดงความรู้สึกของตนเองหน่วยทุ่งสังหารทั้งหมด เพื่อให้ผู้อื่นเข้าใจในรูปแบบจดหมายได้อย่างไร?
ใช้: นักเรียนแต่ละคนสร้างชิ้นงานที่แสดงออกถึงความรู้สึกร่วมในรูปแบบการเขียนจดหมายถึงตัวละครในเรื่อง Hotel Rwanda
เชื่อม: นักเรียนร่วมแลกเปลี่ยนนำเสนองานเขียนจดหมายของตนเองให้เพื่อนฟัง ในรูปแบบ Show and Share
อังคาร (2 คาบ)
ชง:
- ครูพูดเล่าถึงเหตุการณ์สังหารหมู่ที่ Waterloo เบลเยียม ครบรอบ 200 ปี
- ครูใช้คำถามกระตุ้นคิด นักเรียนได้เรียนรู้อะไร รู้สึกอย่างไร และเกี่ยวข้องกับตัวเองอย่างไร?”
เชื่อม: นักเรียนวิเคราะห์และแลกเปลี่ยนแสดงความคิดเห็นร่วมกันเกี่ยวกับเรื่องที่ครูเล่า ในรูปแบบ Round Robin
ชง: ครูใช้คำถามกระตุ้นคิด “ทำไมจึงมีการสังหารหมู่/ฆ่าล้างเผ่าพันธุ์”
เชื่อม: นักเรียนวิเคราะห์และแลกเปลี่ยนแสดงความคิดเห็นร่วมกันเกี่ยวกับการสังหารหมู่/ฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ ในรูปแบบ Round Robin
ชง: ครูใช้คำถามกระตุ้นคิด นักเรียนคิดว่านอกจากที่ประเทศเบลเยียมแล้ว ยังมีเหตุการณ์ที่ประเทศไหนอีกบ้างที่มีการสังหารหมู่/ฆ่าล้างเผ่าพันธุ์เกิดขึ้น?
เชื่อม: นักเรียนวิเคราะห์และแลกเปลี่ยนแสดงความคิดเห็นร่วมกันเกี่ยวกับเหตุการณ์การสังหารหมู่/ฆ่าล้างเผ่าพันธุ์  ในรูปแบบ Round Robin
ชง: ครูแบ่งนักเรียนออกเป็นกลุ่ม กลุ่มละ 2-3 คน และจับฉลากเลือกค้นคว้าเกี่ยวกับเหตุการณ์สังหารหมู่/ฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ในแต่ละประเทศและในแต่ละทวีปที่มีเหตุการณ์เช่นนี้เกิดขึ้น ดังนี้
-         อเมริกา (ชนเผ่าอินเดียนแดง)
-         กัมพูชา (เขมรแดง)
-         ระวันดา (ชนเผ่าฮูตู-ทุตซี)
-         จีน (เมืองนานกิง)
-         เยอรมัน (ฮิตเลอร์-ยิว)
        -         ออสเตรเลีย (ชนเผ่าอะบอริจิน)
จากนั้นให้นักเรียนแต่ละกลุ่มศึกษาเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ของสงครามหรือเหตุการณ์สังหารหมู่/ฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ในแต่ละประเทศและนำเสนอในรูปแบบ
Timeline
เชื่อม: นักเรียนแต่ละกลุ่มสืบค้น ศึกษาข้อมูล และบันทึกลงในสมุดเล่มเล็ก
- นักเรียนแต่ละกลุ่มแลกเปลี่ยนนำเสนอความคืบหน้าและศึกษาเพิ่มเติม
พฤหัสบดี (2 คาบ)
เชื่อม: นักเรียนแต่ละกลุ่มแลกเปลี่ยนนำเสนอความคืบหน้าและศึกษาเพิ่มเติม
ชง: ครูให้นักเรียนดูคลิปเหตุการณ์สังหารหมู่/ฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ชาวอาร์มีเนีย
เชื่อม: นักเรียนวิเคราะห์และแลกเปลี่ยนแสดงความคิดเห็นร่วมกันเกี่ยวกับคลิปที่ดู ในรูปแบบ Place mat
ชง : ครูใช้คำถามกระตุ้นคิด “การสังหารหมู่ กับการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ต่างกันอย่างไร และนักเรียนคิดว่าเหตุการณ์ที่แต่ละกลุ่มไปศึกษาควรจัดอยู่ในประเภทใด
เชื่อม: ครูและนักเรียนพูดคุยแลกเปลี่ยนร่วมกันเกี่ยวกับนิยามระหว่างคำว่า การสังหารหมู่และการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ ในรูปแบบ Round Robin
ศุกร์ (2 คาบ)
เชื่อม:นักเรียนแต่ละกลุ่มนำเสนอเรื่องที่ศึกษาเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ของสงครามหรือเหตุการณ์สังหารหมู่/ฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ในแต่ละประเทศในรูปแบบ
Timeline
- ครูและนักเรียนร่วมกันแสดงความคิดเห็นจากการนำเสนอของเพื่อนแต่ละกลุ่ม ในรูปแบบ Round Robin
- นักเรียนแต่ละกลุ่มเขียนสรุปสิ่งที่ได้เรียนรู้จากการฟังเรื่องที่ศึกษาในรูปแบบ Mind Mapping
ใช้: นักเรียนแต่ละคนสร้างชิ้นงานที่แสดงออกถึงความรู้สึกร่วมในรูปแบบต่างๆ ตามความสนใจ (เขียนคำอุทิศ, แต่งบทกวี บทประพันธ์ เพลง, เขียนจดหมาย, ใช้โวหารภาพพจน์)
เชื่อม: นักเรียนเขียนสรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์
ภาระงาน
- วิเคราะห์และแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับหนังที่ได้ดู
- สืบค้นข้อมูลและนำเสนอเกี่ยวกับประวัติศาสตร์เหตุการณ์สังหารหมู่/ฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ของแต่ละประเทศ
- เขียน Timeline สรุประวัติศาสตร์ของแต่ละประเทศ
- วิเคราะห์และแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับหนัง และคลิปที่ดู และเรื่องเล่าที่ฟัง
- เขียนผ่านเครื่องมือแสดงความรู้สึกร่วม
- บันทึกสิ่งที่ได้เรียนรู้ลงสมุด
ชิ้นงาน
- Timeline สรุประวัติศาสตร์ของแต่ละประเทศ
- เครื่องมือแสดงความรู้สึกร่วม
สรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์
-สมุดบันทึกสิ่งที่ได้เรียนรู้
ความรู้ 
เข้าใจประวัติศาสตร์ (ประเทศที่มีการสังหารหมู่/ฆ่าล้างเผ่าพันธุ์) แต่ละประเทศในแต่ละทวีป
ทักษะ:
ทักษะชีวิต
สามารถทำงานร่วมกับผู้อื่นยอมรับฟังความคิดเห็นที่หลากหลายและแตกต่างจากตนเอง
ทักษะการเรียนรู้
มีเป้าหมายในสิ่งที่เรียนรู้ มีความสนใจกระตือรือร้นในการร่วมกิจกรรม
สามารถเรียนรู้และเชื่อมโยงสิ่งที่เรียนรู้กับตนเองได้
สามารถคิดวิเคราะห์ เลือกใช้เครื่องมือในการคิดวิเคราะห์ข้อมูลที่ได้ศึกษา
ทักษะการวางแผน
วางแผนการทำงานเป็นขั้นเป็นตอนแบ่งหน้าที่ในการทำงานค้นหาข้อมูล
ทักษะการสื่อสาร
- สามารถถ่ายทอดสิ่งที่ตนเองได้เรียนรู้ให้กับผู้อื่นได้
- สามารถสร้างชิ้นงานต่างๆผ่านเครื่องมือแสดงความรู้สึกร่วมเพื่อนำเสนอให้ผู้อื่นรับทราบได้
คุณลักษณะ
การเคารพยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น
กล้าแสดงความคิดเห็น
สร้างสรรค์และสรุปสิ่งที่ตนเองได้เรียนรู้จากกระบวนการเรียนรู้
-  มีวินัยและความรับผิดชอบต่อสิ่งที่ได้รับมอบหมาย
มีความมุ่งมั่นในการทำงาน
- เห็นคุณค่าของตนเองและผู้อื่น เคารพในความเป็นมนุษย์โดยเท่าเทียมกัน
ภาพกิจกรรมการเรียนรู้
ชิ้นงาน/สรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์
เครื่องมือแสดงความรู้สึก




ตัวอย่าวภาพกิจกรรมการเรียนรู้นักเรียน








2 ความคิดเห็น:

  1. บันทึกหลังการสอน

    กิจกรรมวางแผนออกแบบการเรียนรู้:
    สัปดาห์นี้ ครูให้นักเรียนช่วยกันคิดชื่อหน่วย ปฏิทินการเรียนรู้ สิ่งที่รู้แล้วและสิ่งที่อยากรู้ โดยมีการแบ่งหน้าที่กันทำ แต่กิจกรรมที่ใช้เวลาทำนานที่สุด คือการคิดชื่อหน่วย รวมถึงทำ Mind Mapping สรุปองค์ความรู้ก่อนเรียนเป็นงานรายบุคคล

    กิจกรรมเลือกเหตุการณ์:
    ครูให้นักเรียนดูสารคดีเกี่ยวกับเหตุการณ์สมัยฮิตเลอร์ และเชื่อมโยงต่อว่า สงคราม การฆ่าล้างเผ่าพันธุ์มีอยู่ทุกที่ในโลก ครูอยากให้นักเรียนได้เรียนรู้เหตุการณ์ที่หลากหลาย ครูจึงอยากให้นักเรียนไปศึกษาเหตุการณ์ที่ครูกำหนด โดยครูให้นักเรียนสุ่มเลือกคู่ทำงานก่อน และสุ่มเลือกหัวข้อไปศึกษา แต่ละคู่จะได้หนังสือ 1 เล่ม และหนัง 1 เรื่อง โดยครูให้โจทย์ว่า ให้แต่ละคู่ไปศึกษาเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ที่เกิดขึ้นเกี่ยวกับเหตุการณ์ รวมถึงสาเหตุและบุคคลสำคัญ และเตรียมนำเสนอเพื่อนๆ ในรูปแบบ Time Line

    ตอบลบ
  2. หัวข้อที่ศึกษา
    อเมริกา (ชนเผ่าอินเดียนแดง)
    หนังสือ: โค อีท เซนโก นักรบแห่งกงล้อตะวัน หนัง: Dances with wolves
    กัมพูชา (เขมรแดง)
    หนังสือ: 4 ปีนรกในเขมร หนัง: The killing fields
    ระวันดา (ชนเผ่าฮูตู-ทุตซี)
    หนังสือ: คนฆ่าคนที่รวันดา ตายกว่าล้านศพ หนัง: Hotel Rwanda
    เยอรมัน (ฮิตเลอร์-ยิว)
    หนังสือ: ตู้แห่งอิสรภาพของกาบี หนัง: Schindler's list
    จีน (เมืองนานกิง)
    หนังสือ: หลั่งเลือดที่นานกิง หนัง: The flowers of war
    ออสเตรเลีย (ชนเผ่าอะบอริจิน)
    หนัง: Rabbit-proof fence

    ตอบลบ