เป้าหมายหลัก

ปีการศึกษา 1/2558 หน่วยการเรียนรู้: "ทุ่งสังหาร"
เป้าหมาย (understanding Goal):
เข้าใจและมองเห็นความสัมพันธ์ของการกระทำที่ส่งผลต่อเหตุการณ์ที่เกิดจากการทำสงคราม การฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ที่เกิดขึ้นตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน มีทักษะการคิดและการจัดการข้อมูลต่างๆ รวมทั้งเห็นคุณค่าของตนเองและผู้อื่น เคารพในความเป็นมนุษย์โดยเท่าเทียมกัน และอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างสันติและภราดรภาพ

week4

เป้าหมายความเข้าใจรายสัปดาห์ : นักเรียนเข้าใจสาเหตุ และบุคคลผู้มีอิทธิพลในแต่ละเหตุการณ์การสังหารหมู่/ฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ประเทศในแต่ละทวีป            
Week
Input
Process
Output
Outcome
4
1-5 มิ.ย. 2558
โจทย์
- วิเคราะห์ประวัติศาสตร์
- การแปรเปลี่ยนความขัดแย้ง
Key Questions
- อะไรคือสาเหตุของแต่ละเหตุการณ์สังหารหมู่/ฆ่าล้างเผ่าพันธุ์
- ใครคือบุคคลผู้มีอิทธิพลในแต่ละเหตุการณ์การสังหารหมู่/ฆ่าล้างเผ่าพันธุ์
- การศึกษาเพื่อสันติภาพมีความสำคัญอย่างไร
เครื่องมือคิด
Show and Share
- นำเสนอและร่วมอภิปรายเกี่ยวกับสาเหตุ และบุคคลสำคัญที่อยู่ในแต่ละเหตุการณ์การสังหารหมู่/ฆ่าล้างเผ่าพันธุ์
Round Robin
- พูดคุยแลกเปลี่ยนร่วมกันเกี่ยวกับคลิปที่ได้ดู และกิจกรรมที่ทำ
- นำเสนอเรื่องที่ศึกษา
ผู้ร่วมสร้างการเรียนรู้
ครู/นักเรียน
สื่อและแหล่งเรียนรู้
บรรยากาศในห้องเรียน
ห้องเรียน
- หนัง และหนังสือเกี่ยวกับเหตุการณ์ที่นักเรียนแต่ละกลุ่มไปศึกษา
- คลิปเหตุการณ์การทิ้งระเบิดที่เมืองฮิโรชิมา และนางาซากิ
- กระดาษ
- อินเตอร์เน็ต
จันทร์ (2 คาบ)
ชง: ครูเปิดคลิปเหตุการณ์การทิ้งระเบิดที่เมืองฮิโรชิมา และนางาซากิ
- ครูใช้คำถามกระตุ้นคิด มีวิธีแก้ปัญหา/ยุติความขัดแย้งอะไรอื่นๆ อีกบ้างนอกจากการทิ้งระเบิดครั้งนี้?”
เชื่อม: ครูและนักเรียนพูดคุยแลกเปลี่ยนร่วมกันเกี่ยวกับแก้ปัญหา/ยุติความขัดแย้ง ในรูปแบบ Round Robin
ใช้: นักเรียนแต่ละคนสร้างชิ้นงานที่แสดงออกถึงความรู้สึกร่วมในรูปแบบการพับนกกระเรียนและเขียนคำอุทิศถึงผู้เสียชีวิต
ชง: ครูให้โจทย์นักเรียนไปศึกษาวิเคราะห์ประวัติศาสตร์ ถึงสาเหตุและบุคคลผู้มีอิทธิพลในแต่ละเหตุการณ์
อังคาร (2 คาบ)
ชง: ครูใช้คำถามกระตุ้นคิด ปัจจัยอะไรบ้างที่ทำให้คนและสังคมหนึ่งๆอยู่รอด ไม่มีอยู่ไม่ได้?”
เชื่อม: นักเรียนแต่ละคนเขียนคำตอบลงในกระดาษ
ชง: ครูใช้คำถามกระตุ้นคิด จากปัจจัยที่นักเรียนเขียนปัจจัยใดเป็นความจำเป็น หรือความต้องการ และอะไรคือความแตกต่างของสองสิ่งนี้
เชื่อม: นักเรียนแต่ละคนวิเคราะห์และเขียนคำตอบลงในกระดาษของตัวเอง
- นักเรียนแลกเปลี่ยนแสดงความคิดเห็นร่วมกัน และหาฉันทามติร่วมกัน ในรูปแบบคู่ กลุ่มย่อย และกลุ่มใหญ่ทั้งหมด
- ครูและนักเรียนพูดคุยแลกเปลี่ยนร่วมกันเรื่องความแตกต่างระหว่างความขัดแย้งและความรุนแรงในรูปแบบ Round Robin
พฤหัสบดี (2 คาบ)
เชื่อม: นักเรียนแต่ละกลุ่มสืบค้น ศึกษาข้อมูล และบันทึกลงในสมุดเล่มเล็ก
- นักเรียนแต่ละกลุ่มแลกเปลี่ยนนำเสนอความคืบหน้าและศึกษาเพิ่มเติม
ศุกร์ (2 คาบ)
เชื่อม:นักเรียนแต่ละกลุ่มนำเสนอเรื่องที่ศึกษาเกี่ยวกับสาเหตุ และบุคคลสำคัญที่อยู่ในแต่ละเหตุการณ์การสังหารหมู่/ฆ่าล้างเผ่าพันธุ์
- ครูและนักเรียนร่วมกันแสดงความคิดเห็นจากการนำเสนอของเพื่อนแต่ละกลุ่ม
- นักเรียนแต่ละกลุ่มเขียนสรุปสิ่งที่ได้เรียนรู้จากการฟัง
- ใช้: นักเรียนแต่ละคนสร้างชิ้นงานที่แสดงออกถึงความรู้สึกร่วมในรูปแบบต่างๆ ตามความสนใจ (เขียนคำอุทิศ, แต่งบทกวี บทประพันธ์ เพลง, เขียนจดหมาย, ใช้โวหารภาพพจน์)
เชื่อม: นักเรียนเขียนสรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์
ภาระงาน
- วิเคราะห์และพูดคุยแลกเปลี่ยนเกี่ยวกับคลิปที่ดู
- เขียน และสร้างชิ้นงานผ่านเครื่องมือแสดงความรู้สึกร่วม
- ทำกิจกรรมการแปรเปลี่ยนความขัดแย้ง
- สืบค้นข้อมูล วิเคราะห์ และนำเสนอเกี่ยวกับสาเหตุและบุคคลผู้มีอิทธิพลในแต่ละเหตุการณ์สังหารหมู่/ฆ่าล้างเผ่าพันธุ์
- บันทึกสิ่งที่ได้เรียนรู้ลงสมุด
ชิ้นงาน
- เครื่องมือแสดงความรู้สึกร่วม
สรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์
-สมุดบันทึกสิ่งที่ได้เรียนรู้
ความรู้ 
- เข้าใจสาเหตุ และบุคคลผู้มีอิทธิพลในแต่ละเหตุการณ์การสังหารหมู่/ฆ่าล้างเผ่าพันธุ์
- เข้าใจเรื่องการแปรเปลี่ยนความขัดแย้ง
ทักษะ:
ทักษะชีวิต
สามารถทำงานร่วมกับผู้อื่นยอมรับฟังความคิดเห็นที่หลากหลายและแตกต่างจากตนเอง
- สามารถวิเคราะห์ความแตกต่างระหว่างความขัดแย้งและความรุนแรง และเชื่อมโยงสู่การศึกษาเพื่อสันติภาพ
ทักษะการเรียนรู้
มีเป้าหมายในสิ่งที่เรียนรู้ มีความสนใจกระตือรือร้นในการร่วมกิจกรรม
สามารถเรียนรู้และเชื่อมโยงสิ่งที่เรียนรู้กับตนเองได้
สามารถคิดวิเคราะห์ เลือกใช้เครื่องมือในการคิดวิเคราะห์ข้อมูลที่ได้ศึกษา
ทักษะการวางแผน
วางแผนการทำงานเป็นขั้นเป็นตอนแบ่งหน้าที่ในการทำงานค้นหาข้อมูล
ทักษะการสื่อสาร
- สามารถถ่ายทอดสิ่งที่ตนเองได้เรียนรู้ให้กับผู้อื่นได้
- สามารถสร้างชิ้นงานต่างๆผ่านเครื่องมือแสดงความรู้สึกร่วมเพื่อนำเสนอให้ผู้อื่นรับทราบได้

คุณลักษณะ
การเคารพยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น
กล้าแสดงความคิดเห็น
สร้างสรรค์และสรุปสิ่งที่ตนเองได้เรียนรู้จากกระบวนการเรียนรู้
-  มีวินัยและความรับผิดชอบต่อสิ่งที่ได้รับมอบหมาย
มีความมุ่งมั่นในการทำงาน
- เห็นคุณค่าของตนเองและผู้อื่น เคารพในความเป็นมนุษย์โดยเท่าเทียมกัน
ภาพกิจกรรมการเรียนรู้
ชิ้นงาน/สรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์
เครื่องมือแสดงความรู้สึก



ตัวอย่างภาพกิจกรรมการเรียนรู้นักเรียน



1 ความคิดเห็น:

  1. บันทึกหลังการสอน
    สัปดาห์นี้ ครูให้เวลานักเรียนแต่ละกลุ่มไปศึกษาหาข้อมูลทั้งหนังสือและหนังที่ให้ไป และจากหนังสืออื่นๆ รวมทั้งข้อมูลทางอินเตอร์เน็ต เมื่อแต่ละกลุ่มรวบรวมข้อมูลได้พอสมควร ครูเรียกให้ทุกคนมาเล่าให้เพื่อนๆ ฟังถึงความก้าวหน้าของงาน

    กิจกรรมเราควรจะหยุดยั้งสงครามด้วยสงครามที่โหดเหี้ยมอำมหิตยิ่งกว่าไหม :
    ระหว่างที่นักเรียนแต่ละกลุ่มกำลังหาข้อมูล ครูคั่นกิจกรรมให้นักเรียนไม่เครียดจนเกินไป ครูแจกบทความ 2 เรื่องให้นักเรียนอ่าน คือเรื่องที่ 1 ความสำคัญของจินตนาการ เป็นสุนทรพจน์ของ J.K. Rowling ผู้แต่งหนังสือ Harry Potter เล่าถึงแนวคิดของผู้แต่งในการช่วยเหลือเพื่อนมนุษย์ และเรื่องที่ 2 พิพิธภัณฑ์ฮิโรชิม ความสั่นไหวระดับ 9 ริกเตอร์ในอกด้านซ้าย (ตีพิมพ์ครั้งแรก คอลัมน์ All way นิตยสาร Way ฉบับ 61) บรรยายถึงเมืองฮิโรชิมาระหว่างและหลังเหตุการณ์การทิ้งระเบิดของสหรัฐอเมริกาได้เป็นอย่างดี เมื่อนักเรียนอ่านจบ ครูตั้งคำถามว่า “นักเรียนเห็นด้วยกับคำกล่าวในบรรทัดสุดท้ายของบทความที่ว่า ‘เราหยุดยั้งสงครามด้วยสงครามที่โหดเหี้ยมอำมหิตยิ่งกว่า’ ไหม และให้เขียนความคิดเห็นใส่ในกระดาษ รวมทั้งสิ่งที่อยากจะบอกกับผู้สูญเสียในเหตุการณ์ (ตอนแรกครูตั้งใจจะให้นักเรียนพับนกกระเรียนเพื่อให้เข้ากับเหตุการณ์ด้วย แต่ไม่ได้ทำ)คำตอบที่ได้ก็มีทั้งเห็นด้วย และไม่เห็นด้วย ครูรู้สึกเองว่า กิจกรรมนี้สั่นคลอนความเชื่อของนักเรียนที่มีต่อสงครามพอสมควร บางคนเห็นด้วยกับประเทศสหรัฐอเมริกา บางคนเห็นอกเห็นใจประเทศญี่ปุ่น บางคนมองว่า ถ้าไม่ใช้อาวุธที่รุนแรงเด็ดขาด สงครามก็จะไม่จบ ขณะที่บางคนเห็นแย้งว่า แท้จริงสงครามยังไม่จบ ผู้แพ้ในเวลานั้นจะหาทางกลับมาเอาคืน หรือแก้แค้นอยู่ดี

    ตอบลบ