เป้าหมายหลัก

ปีการศึกษา 1/2558 หน่วยการเรียนรู้: "ทุ่งสังหาร"
เป้าหมาย (understanding Goal):
เข้าใจและมองเห็นความสัมพันธ์ของการกระทำที่ส่งผลต่อเหตุการณ์ที่เกิดจากการทำสงคราม การฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ที่เกิดขึ้นตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน มีทักษะการคิดและการจัดการข้อมูลต่างๆ รวมทั้งเห็นคุณค่าของตนเองและผู้อื่น เคารพในความเป็นมนุษย์โดยเท่าเทียมกัน และอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างสันติและภราดรภาพ

week8

เป้าหมายความเข้าใจรายสัปดาห์ : นักเรียนเข้าใจเหตุการณ์ในอดีตที่ส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงด้านการศึกษาในปัจจุบัน

Week
Input
Process
Output
Outcome
8
29-3 ก.ค. 2558
โจทย์
- เหตุการณ์ในอดีตที่ส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงด้านการศึกษาในปัจจุบัน
- การแปรเปลี่ยนความขัดแย้ง
Key  Questions
- นักเรียนคิดว่าเหตุการณ์ในอดีตส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงด้านการศึกษาในปัจจุบันอย่างไร
เครื่องมือคิด
Show and Share
นำเสนอและร่วมอภิปรายเกี่ยวกับผลกระทบของเหตุการณ์ในอดีตที่ส่งผลต่อเปลี่ยนแปลงด้านการศึกษาในปัจจุบัน
Round Table
พูดคุยแลกเปลี่ยนจากเรื่องเล่า
Blackboard Share
วิเคราะห์และแลกเปลี่ยนความคิดเห็นจากคลิปที่ดู
Place Mat
วิเคราะห์และแลกเปลี่ยนความคิดเห็นจากกิจกรรมที่ทำ
Round Robin
พูดคุยแลกเปลี่ยนความคิดร่วมกันจากกิจกรรมที่ทำ
ผู้ร่วมสร้างการเรียนรู้
ครู/นักเรียน
สื่อและแหล่งเรียนรู้
-บรรยากาศในห้องเรียน
- ห้องเรียน
- เรื่องเล่าเกี่ยวการศึกษาสมัยฮิตเลอร์มีอำนาจ
- ตัวอย่างหนังสือต้องห้าม
คลิปรายการพื้นที่ชีวิต ตอนรอยเลือดที่รวันดา
- เชือกฟาง
- กระดาษ
- อินเตอร์เน็ต
จันทร์ (2 คาบ)
ชง : ครูเล่าเกี่ยวกับการใช้การศึกษาเป็นตัวกีดกันมนุษย์ด้วยกันในการมีสิทธิการเข้ารับการศึกษา การทำงาน หรือการมีชีวิตที่ดี (หนังสือต้องห้ามในไทย การไม่ไว้ใจคนมีการศึกษาในเหตุการณ์เขมรแดง และฮิตเลอร์กับชาวยิว)
เชื่อม: ครูและนักเรียนพูดคุยแลกเปลี่ยนร่วมกัน ในรูปแบบ Round Table
ชง : ครูให้โจทย์นักเรียนไปศึกษาการเปลี่ยนแปลงด้านการศึกษาในปัจจุบัน
อังคาร (2 คาบ)
ชง : ครูให้นักเรียนดูคลิปรายการพื้นที่ชีวิต ตอนรอยเลือดทีรวันดา
เชื่อม : ครูและนักเรียนทบทวนเหตุการณ์ที่รวันดาร่วมกัน
ชง: ครูใช้คำถามกระตุ้นคิด “ใครบ้างมีส่วนทำให้เกิดเหตุการณ์ในรวันดา?
เชื่อม: นักเรียนวิเคราะห์และแลกเปลี่ยนแสดงความคิดเห็นร่วมกันเกี่ยวกับผู้ที่มีส่วนทำให้เกิดเหตุการณ์ในรวันดา ในรูปแบบ Blackboard Share ในมิติขององค์กรทางสังคม ซึ่งประกอบด้วย สถาบันครอบครัว, การเมืองการปกครอง, เศรษฐกิจ, การศึกษา, ศาสนา, สื่อสารมวลชน ฯลฯ
- ครูแบ่งนักเรียนเป็นกลุ่มตามองค์กรทางสังคม กลุ่มละ 2-3 คน
ชง: ครูใช้คำถามกระตุ้นคิด ในเหตุการณ์ที่รวันดา องค์กรทางสังคมของนักเรียนมีส่วนทำให้เกิดความรุนแรงอย่างไร?”
เชื่อม : นักเรียนแต่ละกลุ่มวิเคราะห์และแลกเปลี่ยนแสดงความคิดเห็นร่วมกันในรูปแบบ Place Mat
- ครูขออาสามาสมัคร 2 คนมาอยู่กลางวงกลม เป็นสัญลักษณ์ของผู้ได้รับผลกระทบจากความรุนแรง นักเรียนแต่ละกลุ่มยืนเป็นวงกลมล้อมรอบ ให้แต่ละกลุ่มนำเสนอคำตอบเมื่อพูดจบให้ส่งด้ายไหมพรมโยงไปหาอีกกลุ่ม เป็นการสร้างปม
ชง: ครูใช้คำถามกระตุ้นคิดกับอาสาสมัครที่อยู่กลางวง “นักเรียนรู้สึกอย่างไร?
เชื่อม: นักเรียนที่เป็นอาสาสมัครนำเสนอคำตอบกับเพื่อนๆ ที่อยู่นอกวงกลม
ชง : ครูใช้คำถามกระตุ้นคิด ในเหตุการณ์ที่รวันดา ถ้านักเรียนเป็นผู้มีอำนาจในองค์กรทางสังคม จะวิธีอย่างไรในการแก้ปัญหาความรุนแรงที่เกิดขึ้น?”
เชื่อม : นักเรียนแต่ละกลุ่มวิเคราะห์และแลกเปลี่ยนแสดงความคิดเห็นร่วมกัน
- นักเรียนแต่ละกลุ่มนำเสนอคำตอบการเชื่อมโยงกับกลุ่มอื่น เมื่อพูดจบให้ส่งด้ายไหมพรมโยงคืนกลับมาหากลุ่มที่ส่งให้ในรอบแรก เป็นการแก้ปม
เชื่อม: ครูและนักเรียนพูดคุยแลกเปลี่ยนร่วมกัน ในรูปแบบ Round Robin
พฤหัสบดี (2 คาบ)
เชื่อม: นักเรียนแต่ละกลุ่มสืบค้น ศึกษาข้อมูล และบันทึกลงในสมุดเล่มเล็ก
- นักเรียนแต่ละกลุ่มแลกเปลี่ยนนำเสนอความคืบหน้าและศึกษาเพิ่มเติม
ศุกร์ (2 คาบ)
เชื่อม : นักเรียนแต่ละกลุ่มนำเสนอเรื่องที่ศึกษาคือ ผลกระทบของเหตุการณ์ในอดีตที่ส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงด้านการศึกษาในปัจจุบัน ในรูปแบบต่างๆ ตามความสนใจ (การ์ตูนช่อง, บทความ, Mind Mapping, Flow Chart, ชาร์ตความรู้ ฯลฯ)
- นักเรียนแต่ละกลุ่มร่วมอภิปรายผลกระทบของเหตุการณ์ในอดีตที่ส่งผลต่อเปลี่ยนแปลงด้านการศึกษา
ใช้ :นักเรียนแต่ละคนสร้างชิ้นงานที่แสดงออกถึงความรู้สึกร่วมในรูปแบบต่างๆ ตามความสนใจ (เขียนคำอุทิศ, แต่งบทกวี บทประพันธ์ เพลง, เขียนจดหมาย, ใช้โวหารภาพพจน์)

เชื่อม : นักเรียนแต่ละกลุ่มนำเสนอหนังสือที่ครูให้อ่าน
- ครูและนักเรียนพูดคุยแลกเปลี่ยน
ใช้ :นักเรียนแต่ละคนสร้างชิ้นงานที่แสดงออกถึงความรู้สึกร่วมในรูปแบบต่างๆ ตามความสนใจ (เขียนคำอุทิศ, แต่งบทกวี บทประพันธ์ เพลง, เขียนจดหมาย, ใช้โวหารภาพพจน์)
เชื่อม: นักเรียนเขียนสรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์
ภาระงาน
- วิเคราะห์และแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับเรื่องเล่าจากครู และคลิปที่ดู
- เขียนผ่านเครื่องมือแสดงความรู้สึกร่วม
- ทำกิจกรรมการแปรเปลี่ยนความขัดแย้ง
- สืบค้นข้อมูล วิเคราะห์ และนำเสนอเกี่ยวกับเหตุการณ์สังหารหมู่ที่ส่งผลต่อเปลี่ยนแปลงด้านการศึกษาของแต่ละประเทศในปัจจุบัน
- บันทึกสิ่งที่ได้เรียนรู้ลงสมุด
ชิ้นงาน
- เครื่องมือแสดงความรู้สึกร่วม
สรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์
-สมุดบันทึกสิ่งที่ได้เรียนรู้


ความรู้
- เข้าใจเหตุการณ์ในอดีตที่ส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงด้านการศึกษาในปัจจุบัน
- เข้าใจเรื่องการแปรเปลี่ยนความขัดแย้ง
ทักษะ:
ทักษะชีวิต
สามารถทำงานร่วมกับผู้อื่นยอมรับฟังความคิดเห็นที่หลากหลายและแตกต่างจากตนเอง
ทักษะการเรียนรู้
มีเป้าหมายในสิ่งที่เรียนรู้ มีความสนใจกระตือรือร้นในการร่วมกิจกรรม
สามารถเรียนรู้และเชื่อมโยงสิ่งที่เรียนรู้กับตนเองได้
สามารถคิดวิเคราะห์ เลือกใช้เครื่องมือในการคิดวิเคราะห์ข้อมูลที่ได้ศึกษา
ทักษะการวางแผน
วางแผนการทำงานเป็นขั้นเป็นตอนแบ่งหน้าที่ในการทำงานค้นหาข้อมูล
ทักษะการสื่อสาร
- สามารถถ่ายทอดสิ่งที่ตนเองได้เรียนรู้ให้กับผู้อื่นได้
- สามารถสร้างชิ้นงานต่างๆผ่านเครื่องมือแสดงความรู้สึกร่วมเพื่อนำเสนอให้ผู้อื่นรับทราบได้

คุณลักษณะ
การเคารพยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น
กล้าแสดงความคิดเห็น
สร้างสรรค์และสรุปสิ่งที่ตนเองได้เรียนรู้จากกระบวนการเรียนรู้
-  มีวินัยและความรับผิดชอบต่อสิ่งที่ได้รับมอบหมาย
มีความมุ่งมั่นในการทำงาน
- เห็นคุณค่าของตนเองและผู้อื่น เคารพในความเป็นมนุษย์โดยเท่าเทียมกัน



































































































ภาพกิจกรรมการเรียนรู้




ชิ้นงาน/สรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์
 



เครื่องมือแสดงความรู้สึก

1 ความคิดเห็น:

  1. บันทึกหลังการสอน
    กิจกรรมการมองปัญหาความขัดแย้งในเชิงโครงสร้าง :
    หลังจากดูหนังจบ ครูให้นักเรียนช่วยกันวิเคราะห์จากหนังว่า มีใครบ้างที่มีส่วนทำให้เหตุการณ์ที่รวันดาเกิดขึ้น เมื่อช่วยกันสรุปแล้วมีองค์กรทางสังคมที่เกี่ยวข้อง ประกอบด้วย สถาบันครอบครัว, การเมืองการปกครอง, เศรษฐกิจ, การศึกษา, ศาสนา, สื่อสารมวลชน จากนั้นครูแบ่งนักเรียนเป็นกลุ่มตามองค์กรทางสังคม กลุ่มละ 2-3 คน และขออาสาสมัคร 2 คน เป็นเหยื่อหรือผู้ได้รับผลกระทบในเหตุการณ์ ครูให้องค์กรต่างๆ นั่งเป็นวงกลมวงใหญ่ และเหยื่อนั่งอยู่กลางวง ครูให้นักเรียนแต่ละกลุ่มคิดว่า องค์กรที่ตัวเองมีส่วนทำให้เกิดความรุนแรงได้ย่างไร เมื่อแต่ละกลุ่มองค์นำเสนอคำตอบจบ ครูให้ส่งเชือกฟางโยงไปหาอีกกลุ่มจนครบทุกองค์การ เป็นการสร้างปมไปเรื่อยๆ ครูตั้งคำถามกับเหยื่อที่อยู่กลางวงว่ารู้สึกอย่างไร พี่ๆ ตอบว่าไม่ชอบ คิดว่าบางองค์กรอย่างรัฐบาล หรือศาสนาไม่น่าจะทำให้ความรุนแรงเพิ่มมากขึ้น ครูตั้งคำถามใหม่ ให้คิดกลับ ถ้านักเรียนเป็นผู้มีอำนาจในองค์กรนั้นๆ จะวิธีอย่างไรในการแก้ปัญหาความรุนแรงที่เกิดขึ้น?” เมื่อนักเรียนแต่ละกลุ่มนำเสนอคำตอบการเชื่อมโยงกับกลุ่มอื่น เมื่อพูดจบให้ส่งเชือกฟางโยงคืนกลับมาหากลุ่มที่ส่งให้ในรอบแรก เป็นการแก้ปม ครูคิดว่า กิจกรรมนี้ทำให้นักเรียนเห็นภาพความขัดแย้งในเชิงโครงสร้างชัดขึ้น เป็นการเปิดมุมมองให้เห็นปัญหาความขัดแย้งอีกมุมมองหนึ่ง
    ครูอ่านกลอนรวันดาที่นักเรียนแต่ง หลายคนเขินๆ กับกลอนที่แต่งแต่ก็ดูภูมิใจ ครูเจอข่าวเกี่ยวกับเซอร์วิลตันที่ช่วยเหลือเด็กชาวยิวกว่า 600 คน ได้เสียชีวิตแล้ววันนี้ และเรื่องหญิงบำเรอกามทหารญี่ปุ่นช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 ที่ออกมาเรียกร้องให้รัฐบาลญี่ปุ่นจ่ายเงินชดใช้จึงนำมาเล่าให้นักเรียนฟัง

    กิจกรรมดูคลิปรายการ พื้นที่ชีวิต ตอนกำแพงเบอร์ลิน และอ่านบทความความล้มละลายทางเศรษฐกิจของประเทศอาร์เจนตินา :
    ครูชวนคุยเรื่องของ 2 ประเทศ เพื่อเชื่อมโยงถึงเหตุการณ์ทางเศรษฐกิจในอดีตซึ่งส่งต่อต่อปัจจุบัน ประเทศแรกคือ เยอรมัน ครูให้ดูคลิปรายการพื้นที่ชีวิต ตอนกำแพงเบอร์ลิน และประเทศอาร์เจนตินา ครูให้อ่านบทความความล้มละลายทางเศรษฐกิจเมื่อสิบกว่าปีก่อน และนำทั้ง 2 เหตุการณ์มาวิเคราะห์จุดเหมือน จุดต่างร่วมกัน

    ตอบลบ