เป้าหมายหลัก

ปีการศึกษา 1/2558 หน่วยการเรียนรู้: "ทุ่งสังหาร"
เป้าหมาย (understanding Goal):
เข้าใจและมองเห็นความสัมพันธ์ของการกระทำที่ส่งผลต่อเหตุการณ์ที่เกิดจากการทำสงคราม การฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ที่เกิดขึ้นตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน มีทักษะการคิดและการจัดการข้อมูลต่างๆ รวมทั้งเห็นคุณค่าของตนเองและผู้อื่น เคารพในความเป็นมนุษย์โดยเท่าเทียมกัน และอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างสันติและภราดรภาพ

week9

เป้าหมายความเข้าใจรายสัปดาห์ : นักเรียนเข้าใจเหตุการณ์ความรุนแรงในประเทศไทย และเข้าใจมุมมองความขัดแย้งระหว่างประเทศไทยและประเทศเพื่อนบ้าน
Week
Input
Process
Output
Outcome
9
6-10 ก.ค. 2558
โจทย์
- เหตุการณ์ความรุนแรงในประเทศไทย
- มุมมองความขัดแย้งระหว่างประเทศไทยและประเทศเพื่อนบ้าน
- การแปรเปลี่ยนความขัดแย้ง
Key  Questions
- ประเทศไทยเหตุการณ์ความรุนแรงหรือไม่
- คนไทยส่วนใหญ่มีมุมมองต่อประเทศเพื่อนบ้านอย่างไร
เครื่องมือคิด
Show and Share
- นำเสนอและร่วมอภิปรายเกี่ยวกับมุมมองของคนไทยต่อประเทศเพื่อนบ้าน
- พูดคุยแลกเปลี่ยนร่วมกันจากกิจกรรมที่ทำ และเรื่องที่อ่าน
Round Robin
พูดคุยแลกเปลี่ยนความคิดร่วมกันจากกิจกรรมที่ทำ
ผู้ร่วมสร้างการเรียนรู้
ครู/นักเรียน
สื่อและแหล่งเรียนรู้
-บรรยากาศในห้องเรียน
- ห้องเรียน
- คลิปหนังเรื่องตำนานสมเด็จพระนเรศวร และก้านกล้วย
- กระดาษ
- เพลง
- รูปภาพ
- บทความมุมมองใหม่ต่อพม่าในช่วงการเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่ 2
- อินเตอร์เน็ต
จันทร์ (2 คาบ)
ชง: ครูให้นักเรียนดูคลิปหนังเรื่องตำนานสมเด็จพระนเรศวร และก้านกล้วย
- ครูใช้คำถามกระตุ้นคิด นักเรียนได้เรียนรู้อะไร รู้สึกอย่างไร และเกี่ยวข้องกับตัวเองอย่างไร?”
เชื่อม: นักเรียนวิเคราะห์และแลกเปลี่ยนแสดงความคิดเห็นร่วมกันเกี่ยวกับหนังที่ได้ดูในรูปแบบ Round Robin
- ครูใช้คำถามกระตุ้นคิด “นักเรียนรู้สึกอย่างไรกับประเทศเพื่อนบ้านอย่างกัมพูชา ลาว พม่า? เพราะเหตุใด”
เชื่อม: ครูและนักเรียนพูดคุยแลกเปลี่ยนร่วมกันเกี่ยวกับความรู้สึกต่อประเทศเพื่อนบ้าน ในรูปแบบ Round Robin
ชง: ครูแบ่งนักเรียนออกเป็น 3 กลุ่ม และเลือกค้นคว้าเกี่ยวกับมุมมองของคนไทยต่อประเทศเพื่อนบ้าน ดังนี้
-         ลาว (เจ้าอนุวงศ์)
-         พม่า (เสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่ 2)
-         กัมพูชา (ประสาทเขาพระวิหาร)
- ครูให้โจทย์นักเรียนแต่ละกลุ่มไปค้นคว้าเกี่ยวกับมุมมองของคนไทยต่อประเทศเพื่อนบ้าน
อังคาร (2 คาบ)
ชง: ครูใช้คำถามกระตุ้นคิด คนที่นักเรียนไม่ชอบ เกลียดชังมีหน้าตาและลักษณะ (อัตลักษณ์) อย่างไร และเพราะเหตุใดถึงไม่ชอบ
เชื่อม: นักเรียนแต่ละคนวาดภาพคนที่นักเรียนไม่ชอบ เกลียดชัง
- ครูและนักเรียนพูดคุยแลกเปลี่ยนร่วมกัน ในรูปแบบ Show and Share
ชง: ครูให้นักเรียนดูภาพถ่ายจำนวน  10 ภาพ ภาพละประมาณ 5-10 วินาที (จัดบรรยากาศให้ผ่อนคลาย เปิดเพลงทำนองเบาๆ)
- ครูใช้คำถามกระตุ้นคิด นักเรียนรู้สึกอย่างไรต่อภาพถ่ายแต่ละภาพ?”
เชื่อม : นักเรียนเขียนแสดงความรู้สึกต่อภาพถ่ายลงในกระดาษก่อน แล้วนำมาพูดคุยแลกเปลี่ยนกัน ในรูปแบบ Round Robin
ชง: ครูให้นักเรียนดูภาพถ่ายจำนวน  10 ภาพ (ภาพเดิม) ภาพละประมาณ 5-10 วินาที (จัดบรรยากาศให้ดูมืด ปิดไฟ เปิดเพลงร็อคทำนองรุนแรง)
- ครูใช้คำถามกระตุ้นคิด นักเรียนรู้สึกอย่างไรต่อภาพถ่ายแต่ละภาพ?”
เชื่อม : นักเรียนเขียนแสดงความรู้สึกต่อภาพถ่ายลงในกระดาษก่อน แล้วนำพูดคุยแลกเปลี่ยนกัน ในรูปแบบ Round Robin
พฤหัสบดี (2 คาบ)
เชื่อม: นักเรียนแต่ละกลุ่มสืบค้น ศึกษาข้อมูล และบันทึกลงในสมุดเล่มเล็ก
- นักเรียนแต่ละกลุ่มแลกเปลี่ยนนำเสนอความคืบหน้าและศึกษาเพิ่มเติม
ศุกร์ (2 คาบ)
เชื่อม: นักเรียนแต่ละกลุ่มนำเสนอเรื่องที่ศึกษา คือมุมมองของไทยต่อประเทศเพื่อนบ้าน
- ครูและนักเรียนพูดคุยแลกเปลี่ยนร่วมกัน ในรูปแบบ Round Robin
ชง: ครูใช้คำถามกระตุ้นคิด “ในการที่จะเปิดประชาคมอาเซียนเร็วๆ นี้ มุมมองต่อประเทศเพื่อนบ้านของไทย จะส่งผลดี ผลเสียต่อประชาคมและกับประเทศไทยหรือไม่ อย่างไร”
เชื่อม: ครูและนักเรียนพูดคุยแลกเปลี่ยนร่วมกัน ในรูปแบบ Round Robin
ชง: ครูให้นักเรียนอ่านบทความมุมมองใหม่ต่อพม่าในช่วงการเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่ 2
เชื่อม:
- ครูและนักเรียนพูดคุยแลกเปลี่ยนร่วมกัน ในรูปแบบ Round Robin
- นักเรียนเขียนสรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์
ภาระงาน
- วิเคราะห์และแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับหนัง และคลิปที่ดู และเรื่องที่อ่าน
- เขียนแสดงความรู้สึกผ่านเครื่องมือแสดงความรู้สึกร่วม
- สืบค้นข้อมูลและนำเสนอเกี่ยวกับมุมมองของคนไทยต่อประเทศเพื่อนบ้าน
- ทำกิจกรรมการแปรเปลี่ยนความขัดแย้ง
- บันทึกสิ่งที่ได้เรียนรู้ลงสมุด
ชิ้นงาน
- เครื่องมือแสดงความรู้สึกร่วม
สรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์
-สมุดบันทึกสิ่งที่ได้เรียนรู้


ความรู้
- เข้าใจเหตุการณ์ความรุนแรงในประเทศไทย
- เข้าใจมุมมองความขัดแย้งระหว่างประเทศไทยและประเทศเพื่อนบ้าน
- เข้าใจเรื่องการแปรเปลี่ยนความขัดแย้ง
ทักษะ:
ทักษะชีวิต
สามารถทำงานร่วมกับผู้อื่นยอมรับฟังความคิดเห็นที่หลากหลายและแตกต่างจากตนเอง
ทักษะการเรียนรู้
มีเป้าหมายในสิ่งที่เรียนรู้ มีความสนใจกระตือรือร้นในการร่วมกิจกรรม
สามารถเรียนรู้และเชื่อมโยงสิ่งที่เรียนรู้กับตนเองได้
สามารถคิดวิเคราะห์ เลือกใช้เครื่องมือในการคิดวิเคราะห์ข้อมูลที่ได้ศึกษา
ทักษะการวางแผน
วางแผนการทำงานเป็นขั้นเป็นตอนแบ่งหน้าที่ในการทำงานค้นหาข้อมูล
ทักษะการสื่อสาร
- สามารถถ่ายทอดสิ่งที่ตนเองได้เรียนรู้ให้กับผู้อื่นได้
- สามารถสร้างชิ้นงานต่างๆผ่านเครื่องมือแสดงความรู้สึกร่วมเพื่อนำเสนอให้ผู้อื่นรับทราบได้

คุณลักษณะ
การเคารพยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น
กล้าแสดงความคิดเห็น
สร้างสรรค์และสรุปสิ่งที่ตนเองได้เรียนรู้จากกระบวนการเรียนรู้
-  มีวินัยและความรับผิดชอบต่อสิ่งที่ได้รับมอบหมาย
มีความมุ่งมั่นในการทำงาน
- เห็นคุณค่าของตนเองและผู้อื่น เคารพในความเป็นมนุษย์โดยเท่าเทียมกัน
ภาพกิจกรรมการเรียนรู้



ชิ้นงาน/สรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์



เครื่องมือแสดงความรู้สึก

1 ความคิดเห็น:

  1. บันทึกหลังการสอน

    สัปดาห์นี้ ครูให้นักเรียนเตรียมตัวนำเสนอในสัปดาห์ที่ 10 ซึ่งเป็นการสรุปสิ่งที่แต่ละคู่ได้ศึกษาค้นคว้ามาตลอด Quarter โดยตอนต้นชั่วโมงก่อนแยกย้ายไปทำงาน ครูมีกิจกรรมมาให้นักเรียนได้คิด ได้แลกเปลี่ยนร่วมกัน คือ

    - ครูให้นักเรียนฟังเพลงไม่เท่ากัน ของเป้ อารักษ์ และชวนคุยแลกเปลี่ยนกันว่าได้ข้อคิดอะไรบ้าง

    - ครูชวนนักเรียนคุยเรื่องประเทศจีน ตั้งถามคำถามกับนักเรียนว่า ถ้านึกประเทศจีน นึกถึงอะไร น่าสนใจมากว่านักเรียนส่วนใหญ่นึกถึงเรื่องคล้ายๆ กัน อย่างของปลอม สกปรก เสียงดัง ไม่ช่วยเหลือ ความไม่มีระเบียบวินัย ครูเล่าถึงภาพรวม (ครูเน้นย้ำว่า ไม่ใช่คนจีนทุกคนที่เป็นอย่างนั้น) ทั้งของปลอม (ให้ดูของปลอมที่คนจีนทำ นักเรียนตื่นเต้นมาก และไม่คิดว่าจะมีจริง) คนที่เปลี่ยนชุดในห้องน้ำในสนามบิน การที่ทางวัดร่องขุ่นต้องสร้างห้องน้ำแยกสำหรับคนจีนโดยเฉพาะ ครูเชื่อมโยงกับเรื่องการปฏิวัติวัฒนธรรมจีนในสมัยประธานาธิบดีเหมา เจ๋อ ตุงที่มีนโยบายถอดรากถอดโคนวัฒนธรรมเก่า

    - ครูให้นักเรียนฟังเพลงสิ่งสมมติ ของวงนั่งเล่น และให้นักเรียนแสดงความรู้สึก ครูยกข้อความในประโยคที่กล่าวถึง คนก็เหมือนดอกไม้แต่ละชนิดแตกต่างกัน เชื่อมโยงเรื่องข้อคิดของไอสไตน์ ที่พูดถึงเรื่องถ้าจะวัดความเก่งของสัตว์จากการว่ายน้ำ ปลาก็คงจะถูกยกย่อง แต่จะให้ปลาไปปีนต้นไม้แบบลิงก็คงไม่ได้ สะท้อนให้นักเรียนเห็นว่า เราแต่ละคนก็มีความเก่ง มีลักษณะเฉพาะที่แตกต่างกัน สุดท้าย ครูให้นักเรียนแต่ละคนช่วยกันคิดหาสิ่งที่อธิบายความหลากหลายของมนุษย์เช่นดอกไม้ในเนื้อเพลง แต่ละคนคิดเปรียบเทียบได้อย่างน่าสนใจ

    - ครูถามนักเรียนว่า ตอนนี้มีข่าวอะไรเกี่ยวกับเรื่องที่เราเรียนบ้าง พี่หลุยส์พูดถึงข่าวอุยกูร์ มีเพื่อนๆ คนอื่นช่วยเสริมว่า เกี่ยวกับตุรกี จีน สหรัฐอเมริกา มีการเผาสถานทูต (ตอนนั้นครูยังไม่รู้ข่าวนี้) ครูให้นักเรียนช่วยกันไปหาข้อมูลเพิ่มเติมเพื่อนำมาแลกเปลี่ยนกันสัปดาห์หน้า

    ตอบลบ