เป้าหมายหลัก

ปีการศึกษา 1/2558 หน่วยการเรียนรู้: "ทุ่งสังหาร"
เป้าหมาย (understanding Goal):
เข้าใจและมองเห็นความสัมพันธ์ของการกระทำที่ส่งผลต่อเหตุการณ์ที่เกิดจากการทำสงคราม การฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ที่เกิดขึ้นตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน มีทักษะการคิดและการจัดการข้อมูลต่างๆ รวมทั้งเห็นคุณค่าของตนเองและผู้อื่น เคารพในความเป็นมนุษย์โดยเท่าเทียมกัน และอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างสันติและภราดรภาพ

week6


เป้าหมายความเข้าใจรายสัปดาห์ : นักเรียนเข้าใจเหตุการณ์ในอดีตที่ส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงด้านการเมืองการปกครองในปัจจุบัน
Week
Input
Process
Output
Outcome
6
15-19 มิ.ย. 2558
โจทย์
- เหตุการณ์ในอดีตที่ส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงด้านการเมืองการปกครองในปัจจุบัน
- การแปรเปลี่ยนความขัดแย้ง
Key  Questions
- นักเรียนคิดว่าเหตุการณ์ในอดีตส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงด้านการเมืองการปกครองในปัจจุบันอย่างไร
เครื่องมือคิด
Show and Share
นำเสนอและร่วมอภิปรายเกี่ยวกับเหตุการณ์ในอดีตที่ส่งผลต่อเปลี่ยนแปลงด้านการเมืองการปกครองในปัจจุบัน
Place Mat
แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับเหตุการณ์ในคลิป
Round Robin
แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับกิจกรรมที่ทำ
ผู้ร่วมสร้างการเรียนรู้
ครู/นักเรียน
สื่อและแหล่งเรียนรู้
-บรรยากาศในห้องเรียน
- ห้องเรียน
- คลิปเหตุการณ์ความรุนแรงในไทย (14 ต.ค. 2516, 6 ต.ค. 2519, พฤษภาทมิฬ)
- เพลงที่เกี่ยวกับกับเหตุการณ์ความรุนแรงในไทย
- กระดาษ
- เทปกาว
- อินเตอร์เน็ต
จันทร์ (2 คาบ)
ชง: ครูเปิดคลิปเหตุการณ์ความรุนแรงในไทย (14 ต.ค. 2516, 6 ต.ค. 2519, พฤษภาทมิฬ)
- ครูเปิดเพลงที่เกี่ยวกับกับเหตุการณ์ความรุนแรงในไทย
- ครูใช้คำถามกระตุ้นคิด เหตุการณ์ความขัดแย้งในไทยส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงด้านการเมืองการปกครองในปัจจุบันอย่างไร?”
เชื่อม: ครูและนักเรียนพูดคุยแลกเปลี่ยนร่วมกันในรูปแบบ Place Mat
ใช้: นักเรียนแต่ละคนสร้างชิ้นงานที่แสดงออกถึงความรู้สึกร่วมในรูปแบบต่างๆ ตามความสนใจ (เขียนคำอุทิศ, แต่งบทกวี บทประพันธ์ เพลง, เขียนจดหมาย, ใช้โวหารภาพพจน์)ในรูปแบบการแต่งเพลง
ชง: ครูให้โจทย์นักเรียนไปศึกษาการเปลี่ยนแปลงด้านวัฒนธรรม ภาษา และความเชื่อในปัจจุบัน
ชง: ครูให้โจทย์นักเรียนไปศึกษาการเปลี่ยนแปลงของเหตุการณ์ในอดีตที่ส่งผลต่อระบบเศรษฐกิจในปัจจุบัน
อังคาร (2 คาบ)
ชง:ครูให้นักเรียนวาดดอกไม้ลงบนกระดาษ
- แต่ละกลีบให้นักเรียนเขียนคำสั้นๆ ที่อธิบายตัวตนของนักเรียน
- ครูรวบรวบกระดาษและเขียนคำอธิบายตัวตนบนกระดาน
- ครูใช้เชือกแบ่งครึ่งห้องแบ่งนักเรียนเป็น 2 ฝั่ง ครูอ่านคำอธิบายตัวตนบนกระดานทีละคำ นักเรียนที่มีตัวตนตรงกับที่ครูอ่านเดินไปที่ฝั่งที่กำหนด (ตัวอย่าง เช่น เพศชาย-หญิง, เป็นคนอำเภอลำปลายมาศ-นางรอง)
เชื่อม : นักเรียนร่วมทำกิจกรรมร่วมกัน
- ครูและนักเรียนพูดคุยแลกเปลี่ยนร่วมกันเรื่องการเคารพความแตกต่างของอัตลักษณ์ของแต่ละบุคคล
ชง : ครูใช้คำถามกระตุ้นคิด “มีนักเรียนคนใดไม่ได้มีอัตลักษณ์เหมือนเพื่อนเลยบ้าง
เชื่อม: ครูและนักเรียนพูดคุยแลกเปลี่ยนร่วมกันเกี่ยวกับกิจกรรม
อัตลักษณ์ ในรูปแบบ Round Robin
พฤหัสบดี (2 คาบ)
- นักเรียนแต่ละกลุ่มสืบค้น ศึกษาข้อมูล และบันทึกลงในสมุดเล่มเล็ก
- นักเรียนแต่ละกลุ่มแลกเปลี่ยนนำเสนอความคืบหน้าและศึกษาเพิ่มเติม
ศุกร์ (2 คาบ)
เชื่อม : นักเรียนแต่ละกลุ่มนำเสนอเรื่องที่ศึกษาคือ ผลกระทบของเหตุการณ์ในอดีตที่ส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงด้านการเมืองในปัจจุบัน ในรูปแบบต่างๆ ตามความสนใจ (การ์ตูนช่อง, บทความ, Mind Mapping, Flow Chart, ชาร์ตความรู้ ฯลฯ)
- นักเรียนแต่ละกลุ่มร่วมอภิปรายผลกระทบของเหตุการณ์ในอดีตที่ส่งผลต่อเปลี่ยนแปลงด้านการเมือง
การปกครองของแต่ละประเทศในปัจจุบัน
ใช้: นักเรียนแต่ละคนสร้างชิ้นงานที่แสดงออกถึงความรู้สึกร่วม
 ในรูปแบบการเขียนจดหมายถึงผู้มีอำนาจสั่งการในเหตุการณ์
เชื่อม: นักเรียนเขียนสรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์
ภาระงาน
- วิเคราะห์และแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับคลิปที่ดู
- สร้างชิ้นงานผ่านเครื่องมือแสดงความรู้สึกร่วม
- สืบค้นข้อมูล วิเคราะห์ และนำเสนอเกี่ยวกับเหตุการณ์สังหารหมู่ที่ส่งผลต่อเปลี่ยนแปลงด้านการเมืองการปกครองของแต่ละประเทศในปัจจุบัน
- ทำกิจกรรมการแปรเปลี่ยน
ความขัดแย้ง
- บันทึกสิ่งที่ได้เรียนรู้ลงสมุด
ชิ้นงาน
- เครื่องมือแสดงความรู้สึกร่วม
สรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์
-สมุดบันทึกสิ่งที่ได้เรียนรู้


ความรู้
- เข้าใจเหตุการณ์ในอดีตที่ส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงด้านการเมืองการปกครองในปัจจุบัน
- เข้าใจเรื่องการแปรเปลี่ยนความขัดแย้ง
ทักษะ:
ทักษะชีวิต
สามารถทำงานร่วมกับผู้อื่นยอมรับฟังความคิดเห็นที่หลากหลายและแตกต่างจากตนเอง
ทักษะการเรียนรู้
มีเป้าหมายในสิ่งที่เรียนรู้ มีความสนใจกระตือรือร้นในการร่วมกิจกรรม
สามารถเรียนรู้และเชื่อมโยงสิ่งที่เรียนรู้กับตนเองได้
สามารถคิดวิเคราะห์ เลือกใช้เครื่องมือในการคิดวิเคราะห์ข้อมูลที่ได้ศึกษา
ทักษะการวางแผน
วางแผนการทำงานเป็นขั้นเป็นตอนแบ่งหน้าที่ในการทำงานค้นหาข้อมูล
ทักษะการสื่อสาร
- สามารถถ่ายทอดสิ่งที่ตนเองได้เรียนรู้ให้กับผู้อื่นได้
- สามารถสร้างชิ้นงานต่างๆผ่านเครื่องมือแสดงความรู้สึกร่วมเพื่อนำเสนอให้ผู้อื่นรับทราบได้
คุณลักษณะ
การเคารพยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น
กล้าแสดงความคิดเห็น
สร้างสรรค์และสรุปสิ่งที่ตนเองได้เรียนรู้จากกระบวนการเรียนรู้
-  มีวินัยและความรับผิดชอบต่อสิ่งที่ได้รับมอบหมาย
มีความมุ่งมั่นในการทำงาน
- เห็นคุณค่าของตนเองและผู้อื่น เคารพในความเป็นมนุษย์โดยเท่าเทียมกัน
ภาพกิจกรรมการเรียนรู้
ชิ้นงาน/สรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์
เครื่องมือแสดงความรู้สึก



1 ความคิดเห็น:

  1. บันทึกหลังการสอน
    สัปดาห์นี้ แต่ละกลุ่มจะได้โจทย์ใหม่จากครู ให้ไปศึกษาค้นคว้าเกี่ยวกับเรื่องสังคม การเมืองการปกครอง วัฒนธรรม

    กิจกรรมความขัดแย้งไม่เท่ากับความรุนแรง :
    จากสัปดาห์ก่อน นักเรียนทำความเข้าใจเรื่องความขัดแย้งเป็นเรื่องธรรมดา อีกประเด็นหนึ่งที่น่าสนใจมากๆ ที่คนส่วนใหญ่มักเข้าใจผิด คือ เข้าใจว่าความขัดแย้งเท่ากับความรุนแรง ครูจัดกิจกรรมเพื่อให้นักเรียนเกิดความเข้าใจเรื่องนี้ โดยแบ่งกลุ่มนักเรียนเป็น 3 กลุ่ม แต่ละกลุ่มจะได้รับเป้าหมาย คือการจัดวางหมอนสามเหลี่ยม ที่ต้องทำให้สำเร็จจากครูที่ต่างกัน (กลุ่ม1- ให้รวมเก้าอี้ไว้ที่กลางห้อง, กลุ่ม2- ให้รวมเก้าอี้ไว้ที่ริมหน้าต่าง, กลุ่ม3- ให้รวมเก้าอี้ไว้ที่ริมประตู) มีกติกาว่า ห้ามแต่ละกลุ่มบอกเป้าหมายกับกลุ่มอื่นๆ เมื่ออธิบายกติกาและวางหมอนสามเหลี่ยมไว้มุมหนึ่งของบ้านเสร็จก็เริ่มกิจกรรม เป็นอย่างที่คาดเอาไว้ นักเรียนชุลมุนแย่งหมอนกันอย่างสนุกสนาน แต่ละกลุ่มแย่งกันไปแย่งกันมา เมื่อผ่านไปสักพัก ครูขอตัวแทนของแต่ละกลุ่มมาพูดคุยตกลงกัน ซึ่งตัวแทนของทุกกลุ่มก็มีความคิดที่หลากหลาย มาสรุปตรงกันว่า ให้แต่ละกลุ่มยกหมอนไปตาที่ครูสั่ง เมื่อสำเร็จก็เปลี่ยนให้อีกกลุ่มยกบ้างจนครบ ทุกกลุ่มก็ทำสำเร็จตามเป้าหมาย ครูเพิ่มเติมโดยเขียนคำว่า “ความขัดแย้ง = ความรุนแรง” และถามนักเรียนว่า เห็นด้วยไหม นักเรียนใช้สิ่งที่ได้เรียนรู้ผ่านกิจกรรมมาตอบว่า สองสิ่งนี้ไม่จำเป็นต้องเท่ากันเสมอไป

    กิจกรรมดูคลิปเหตุการณ์14 ตุลา 16/ 6 ตุลา 19 :
    เพื่อเป็นการเกริ่นเกี่ยวกับโจทย์ใหม่ที่นักเรียนจะต้องไปศึกษา
    1. ครูหาใบงานให้นักเรียนศึกษาเกี่ยวกับระบบการเมืองการปกครอง ระบบเศรษฐกิจหลักๆ ที่แต่ละสังคม ประเทศใช้
    2. ครูลองถามนักเรียนว่า “คิดว่าภาพเหตุการณ์ที่น่ากลัวที่สุดของประวัติศาสตร์การเมืองไทยคือภาพใด” นักเรียนส่วนใหญ่ตอบว่าเกี่ยวกับการต่อสู้กันของกลุ่มเสื้อเหลือง เสื้อแดง มีพี่ชาติตอบว่า ภาพนักการเมืองทะเลาะกันในสภา ครูไม่ได้บอกว่าความคิดเห็นของใครถูกใครผิด ครูให้ดูภาพที่มีการกล่าวกันว่าเป็นภาพเหตุการณ์ที่น่ากลัวที่สุดภาพหนึ่ง ซึ่งคือภาพแขวนคอ และมีเด็กอายุประมาณ 8-9 ขวบยืนยิ้มอยู่ ช่วงเหตุการณ์ 6 ตุลา 19 จากนั้นครูเปิดคลิปสรุปเหตุการณ์เดือนตุลา นักเรียนส่วนใหญ่ตกใจและไม่เคยคิดว่า มีเรื่องแบบนี้เกิดขึ้นในเมืองไทย ครูทิ้งคำถามชวนให้นักเรียนคิดต่อว่า ถ้าเหตุการณ์เหล่านี้ไม่เกิดขึ้น ประเทศไทยตอนนี้จะเป็นอย่างไร

    ตอบลบ